บทความโดย เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม ; Bobby524@hotmail.com
ที่มา : นิตยสาร The Absolute Sound & Stage No.156 March 2015
“Behringer เป็นยี่ห้อหนึ่งที่มีชื่อในเรื่องของการผลิตอุปกรณ์ราคาประหยัดแต่มีคุณภาพดี กับการพัฒนามิกเซอร์ดิจิตอลรุ่น X32 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวงการเครื่องเสียง PA”
นับจากปี 1989 บริษัท Behringer จัดว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตสินค้าคุณภาพดีราคาไม่แพง โลดแล่นอยู่ในตลาด PA มายาวนาน กระทั่งในปี 2010 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของบริษัท นั่นคือ Music Group บริษัทแม่ของ Behringer ได้เข้าซื้อกิจการชื่อดังในอังกฤษ นั่นคือ Midas ซึ่งเป็นที่รู้จัก…
เกิดอะไรขึ้นเมื่อสามบริษัทที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์เครื่องเสียง PA ในแต่ละสายมารวมตัวกัน ผลลัพธ์คือ บริษัทได้ร่วม มือกันออกแบบ มิกเซอร์ดิจิตอลรุ่นใหม่ชื่อว่า X32 และดูเหมือนสินค้าตัวนี้จะเขย่าวงการจนสะเทือนตั้งแต่วันเปิดตัวจนถึงปัจจุบัน เพราะ X32 มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน และถือว่าเป็นบอร์ดที่มีราคาไม่สูงนักเมื่อเทียบกับค่ายอื่นๆ ถ้าแลกกันหมัดต่อหมัด X32 เหนือกว่าในเรื่องนี้มาก จากสเปกเบื้องต้นที่มีขนาด 32 แชนเนล และมีจำนวน 25 bus นั้น อาจไม่ต่างจากอุปกรณ์ค่ายอื่นที่ทำงานในระบบดิจิตอล
แต่สิ่งที่น่ากลัวต่อคู่แข่งก็คือมีภาคเอฟเฟ็กต์ที่พัฒนาชนิดถอดแบบมาจากบอร์ดรุ่นใหญ่ของ Midas เลยทีเดียว ซึ่งตัวเอฟเฟ็กต์ทั้งหลายถูกออกแบบให้ฝังตัวมากับตัวบอร์ด X32 และจุดนี้ทำให้การเซตแอพพลิเคชั่นระบบเสียงทั้งในสตูดิโอและกลางแจ้งลดความยุ่งยากลงไปมาก
ตรงนี้เป็นโจทย์หินของคู่ แข่ง ที่นอกจากจะแข่งกันที่ลูกเล่นของอุปกรณ์แล้ว ยังต้องหั่นราคาลงมาสู้อีกด้วย หลายคนอาจจะช็อคกับราคา X32 ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีชื่อยี่ห้ออื่น ที่มีราคาในระดับใกล้เคียงกัน ยิ่งทำให้รู้ว่าฟรีเจอร์และลูกเล่นของ X32 นั้นมีราคาต่ำและคุ้มค่ามาก อย่างไรก็ดี X32 เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในเกรดและมีกลุ่มเป้าหมายคือ ตลาด semi-pro ตลอดจนกลุ่มผู้ใช้งานที่มีสเกลงานที่ไม่ใหญ่นัก อย่างในโรงละครและในคลับ เฮ้าส์ เป็นต้น…กันในหมู่คนเล่นเครื่องเสียง PA ว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตบอร์ดคอนโซลสำหรับงาน Live Sound ระดับแนวหน้าของโลก พร้อมกันนี้ยังได้ซื้อกิจการผู้ผลิตกราฟิก EQ ชั้นนำของโลกอีกหนึ่งแห่งนั่นคือ Klark Teknik หลายท่านคงคุ้นเคยกับคอมเพรสเซอร์และชุด EQ ระดับตำนานหลายๆ รุ่นจากยี่ห้อนี้ อาทิ DN780, DN360, DN370
คุณสมบัติของ BEHRINGER X32
- 40 อินพุตแชนเนล, 25 bus สำหรับการมิกซ์ทั้งในสตูดิโอและกลางแจ้ง
- MIDAS ออกแบบภาคปรีแอมป์เพื่อให้ได้เสียงคุณภาพสูง
- 25 สไลด์เฟดเดอร์บนระบบออโตเมทมอเตอร์ ที่พร้อมทำงานทันทีตามซีนที่สร้างไว้ และตามซอฟต์แวร์ DAW ที่มีการเก็บค่าของฟังก์ชั่น ออโตเมชันเอาไว้
- 16 XLR เอาต์พุต บวกกับอีก 6 Line อินพุต/เอาต์พุต, ชุด phones 2 ชุด สำหรับทอร์คแบ็ก หรือใช้กับไมค์ภายนอก
- จอ LCD ขนาดจิ๋วบอกสถานะการทำงานของแต่ละแชนเนล และบัสทำให้ง่ายต่อการกำหนดและจดจำค่าสถานะของแต่ละแชนเนล
- 32×32 แชนเนล วิ่งบนพอร์ต USB ออดิโออินเทอร์เฟซ หรือใช้กับรีโมท DAW โดยใช้อุปกรณ์อย่าง HUI และ Mackie Control
- iPhone, iPad สามารถใช้เป็นรีโมทควบคุมระยะไกลได้
- จอภาพขนาด 7 นิ้วแบบ TFT สี ง่ายต่อการมองเห็นและการโฟล์วของคอมโพเน้นต์และพารามิเตอร์
- Main LCR, 6 แมทริกซ์บัส และ 16 มิกซ์บัส ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้สำหรับ insert มี EQ ขนาด 6 แบนด์แบบพาราเมตริก และพร้อมไดนามิกเต็มรูปแบบ บวกกับ 8 ชุด DCA และชุด Mute Group อีก 6 ชุด
- มี Virtual FX แบบ rack ที่รันบนบอร์ดได้พร้อมกัน 8 ตัว เป็นการจำลองเอฟเฟ็กต์แบบ Stereo FX อาทิ Lexicon 480L, PCM70, EMT250 และ Quantec QRS
- ภาค DSP ทำงานระดับ 40-Bit floating-point ตอบสนองไดนามิกเรนจ์ไม่มีการโอเวอร์โหลดภายใน และมีค่า Latency ต่ำระดับ 0.8 msec
- สามารถสร้างซีนและบริหารจัดการได้ง่ายและเร็ว พร้อมรองรับโปรดักชันที่มีความซับซ้อนสูง
- สามารถรันได้สูงสุด 48 แชนเนลบนพอร์ต AES50 พร้อมกับ KLARK TEKNIK ที่รันบนเน็ตเวิร์ก SuperMAC ที่มีค่า Latency และ Jitter ต่ำมาก
- พอร์ต USB type A อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟ ที่ต้องการเก็บไฟล์ออดิโอแบบไม่มีการลดทอนความละเอียด หรือการบีบอัดข้อมูล
- แชนเนลสทริปที่มองเห็นง่าย
- และสามารถเข้าถึงได้เร็ว และมีกราฟิกที่ตอบสนองสื่อถึงการโฟล์วของการทำงาน
- สามารถกำหนดพารามิเตอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่ต้องการ
- มีช่องต่อ ULTRANET สำหรับอุปกรณ์ Behringer P-16 ซึ่งเป็นชุดควบคุมระบบมอนิเตอร์บนเวที พร้อมกับเอาต์พุตดิจิตอลแบบ AES/EBU และ MIDI
- สามารถใช้รีโมทผ่านระบบเน็ตเวิร์ค ซึ่งผู้ใช้จะต้องเซตบนซอฟต์แวร์เอดิเตอร์และอีเธอร์เน็ต
- มีช่องสำหรับติดตั้งการ์ดขยายภาคออดิโอ และมีออดิโออินเทอร์เฟซในตัวสามารถอัพเดทเฟิร์มแวร์เวอร์ชันใหม่ๆ ในอนาคตได้ เช่น ปลั๊กอินใหม่ๆ โดยการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ behringer.com ฟรี
โครงสร้างภายใน
สำหรับอุปกรณ์ดิจิตอลมิกเซอร์ขนาดตั้งโต๊ะนั้น X32 ถือเป็นคอนโทรลเซอร์เฟซตัวจริงที่มีลูกเล่นโดดเด่น โดย Behringer ได้ออกแบบ X32 ให้มีความเรียบง่ายตามแบบคอนโซลดิจิตอลทั่วไป ไล่ตั้งแต่ภาคอินพุตและเอาต์พุต และยังมีดิจิตอลเร้าท์ติ้งแมทริกขนาด 168×168 ซึ่งเป็นแกนหลักภายในที่ใช้ประมวลผลสัญญาณผ่าน DSP หากนับรวมอินพุตทั้งหมด พบว่ามีมากถึง 40 ช่องสัญญาณอินพุต (ช่องสัญญาณไมค์ 32 แชนเนล + จำนวน 6 Aux + สเตอริโอ USB อินพุต) พร้อมกับมิกซ์บัส (Mix bus) จำนวน 25 ช่องสัญญาณ (16 บัสภายใน, 6 แมทริก และอีก 3 เมนเอาต์พุต)…
ในส่วนของอินพุตจะมีปรีแอมป์จำนวน 32 ชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีสวิตช์แพนทอมเพาเวอร์แยกกันเป็นอิสระ และรองรับอินพุตอิมพีแดนซ์ได้สูงถึง 12 กิโลโอห์ม ซึ่งสามารถใช้กับพวกสัญญาณไลน์ได้โดยไม่มีปัญหา บวกกับ Aux บาลานซ์อีก 6 ชุด และชุดอันบาลานซ์อีก 2 ชุด แบบ RCA/Phono แจ็ค สำหรับวงจรปรีแอมป์จะคล้ายกับ Midas Pro 2 ซึ่งมีนัยสำคัญต่อคุณภาพเสียง ซึ่งจะดีกว่าอุปกรณ์หลายๆ รุ่นของ Behringer ที่เคยผลิตมา… จากจำนวนขนาด 32 แชนเนลของบอร์ด สามารถรันจำนวนสัญญาณอินพุตผ่านพอร์ต USB ในลักษณะการทำงานเป็นออดิโออินเทอร์เฟซได้อีกด้วย และอัพได้ถึง 48 อินพุตแบบดิจิตอล
อีกทั้งยังรองรับพอร์ต AES50 ซึ่งรันบนแพลตฟอร์ม SuperMAC ซึ่งมีสถานะของค่า Latency ที่ต่ำมากๆ ประมาณ 0.25ms และยังรองรับการทำงานกับการ์ดเน็ตเวิร์กมาตรฐานอย่างผ่านสายเคเบิล Cat5 โดยเชื่อมต่อกับสเตทบ็อกซ์รุ่น S16 ซึ่งใช้บนเวที ทำให้นักดนตรีแต่ละคนสามารถควบคุมสัญญาณมอนิเตอร์ของตนได้อย่างอิสระ พอร์ต AES50 สามารถติดตั้งได้ 3 ชุด โดยทั้งหมดจะรันได้พร้อมกันสูงสุด 96 อินพุตและรีเทิร์นอีก 48 ชุดสัญญาณ พอร์ต AES50 ยังสามารถใช้แชร์บัสร่วมกับ X32 ตัวอื่นๆ ได้อีกด้วย…
ก่อนที่โลกดิจิตอลจะเกิดการแพร่หลาย สัญญาณอินพุตที่พบมากที่สุดคือ S/PDIF ซึ่งสามารถที่จะเชื่อมต่อสัญญาณผ่านสายเพียงเส้นเดียวคล้ายกับ RCA จะพบมากบนเครื่องเล่น CD อย่างไรก็ดี แม้ว่าโลกดิจิตอลจะไปไกลแล้วก็ตาม ช่องต่อสัญญาณอันบาลานซ์แบบอะนาลอกก็ยังเป็นที่นิยมแพร่หลาย ขณะที่พอร์ต USB เป็นสัญญาณดิจิตอลซึ่งทำให้โลกยุคเก่าเปลี่ยนโฉมไป ในส่วนของตัวหน่วยความจำแฟลชไดร์ฟสามารถใช้กับ X32 ได้ผ่าน Aux อินพุต 7/8 และพอร์ต USB ยังสามารถเชื่อมกับ iPad, iPhone หรือใช้เล่นไฟล์ mp3 ได้ ถ้าหากเป็นไฟล์ wav จะเล่นได้ทันที และไฟล์จะต้องอยู่บน root ไดเรกทอรี หรือเก็บไว้ในโฟลเดอร์ ซึ่งจะมีออปชันให้เลือกไฟล์จากโฟลเดอร์ หรือไฟล์เดี่ยวๆ ก็ทำได้ โดยการทำงานไฟล์ mp3 จะมีเรตที่ต่ำ แต่งาน PA กลับต้องการไฟล์ที่ใหญ่มากพอที่จะให้รายละเอียดคุณภาพเสียงสูงๆ เพื่อที่จะให้เสียงครบทุกย่านความถี่ แต่บางครั้งต้องทำใจในเรื่องพื้นที่จัดเก็บ กล่าวคือไฟล์ยิ่งใหญ่ยิ่งต้องการพื้นที่เก็บใหญ่ดังเงาตามตัว นอกจากนั้นในเฟิร์มแวร์เวอร์ ชัน 2.0 ขึ้นไปสามารถที่จะรัน sample-rate ที่หลากหลายขึ้น…
ในส่วนภาคอะนาลอกเอาต์พุต X32 มีชุดเอาต์พุต XLR จำนวน 16 ช่องสัญญาณ ซึ่งสามารถกำหนดคุณสมบัติได้อย่างอิสระผ่านฟังก์ชั่นเราท์เตอร์ บวกกับจำนวน Aux 6 ชุด สำหรับ send ไปยัง TRS ซึ่งเป็นอันบาลานซ์ RCA/Phono ตรงนี้จะแยกกันควบคุมพวกมอนิเตอร์และคอนโทรลรูม พร้อมกับช่องต่อหูฟัง ในส่วนของภาคดิจิตอลเอาต์พุตจะได้เอาต์พุตจาก AES 3 เอาต์พุต รวมทั้งส่วนที่เป็น Aux 7/8 จากพอร์ต USB ที่อยู่ด้านบนบอร์ด สามารถเร็คคอร์ดสัญญาณเป็นสเตอริโอได้ทันที โดยไฟล์จะออกมาเป็นฟอร์แมต WAV พร้อมกับตั้งชื่อให้อัตโนมัติ ซึ่งจะตั้งเรียงตามวันเวลา
ส่วน USB ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลสามารถเก็บพวกซีนต่างๆ ของคอนโซลได้ พวกพรีเซตไลบรารี ส่วนการ์ด XUF อินเทอร์เฟซ สามารถรันแชนเนลทั้งอินพุตและเอาต์พุตได้สูงถึง 32 แชนเนล โดยใช้วิธีการเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB หรือพอร์ต Firewire และพอร์ต AES50 อินเทอร์เฟซสามารถรันได้ถึง 48 เอาต์พุต นอกจากนั้นยังรองรับอินเทอร์เฟซ P16 Ultranet สามารถเชื่อมกับ อุปกรณ์ที่ชื่อว่า Powerplay P16M ซึ่งเป็นมอนิเตอร์แบบส่วนบุคคล พร้อมกับมีพอร์ต MIDI บวกกับมีพอร์ตอีเธอร์เน็ตและ USB สามารถต่อเป็นรีโมทระยะไกล เพื่อใช้ควบคุมผ่าน XRemote และ iPad แอปฯ หรือจะเซตระบบเป็นไร้สายแบบ Wi-Fi เราท์เตอร์จ่ายสัญญาณก็ได้
อินเทอร์เฟซ
X32 มีอินเทอร์เฟซการ์ดที่มากับตัวเครื่องเรียกว่าเป็นมาตรฐานของอุปกรณ์คือ XUF ซึ่งจะมีพอร์ต USB 2.0 และช่อง FireWire 400 แต่จะเลือกใช้งานได้ทีละหนึ่งพอร์ตเท่านั้น อินเทอร์เฟซนี้รองรับการทำงานกับ Core Audio ของ Mac OS 10.5 หรือสูงกว่า รวมทั้งค่าย Windows สามารถรันบน ASIO ไดรเวอร์ ซึ่งการถ่ายโอนจะแยกกันทำงานระหว่างอินเทอร์เฟซและไดรเวอร์ และพอร์ต MIDI สำหรับคอนโทรล เลอร์ซอฟต์แวร์ DAW สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ค่าย Mackie Control/HUI ได้ ในส่วนของ Macbook สามารถใช้พอร์ต FireWire จะช่วยให้เร็คคอร์ดระดับ 32 แชนเนลได้อย่างราบรื่น และมีค่า Latency ที่ต่ำระดับประมาณ 10ms…
Behringer มีอินเทอร์เฟซ XUF ที่เชื่อมกับ FW/USB ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานกับคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี X32 สามารถใช้กับการ์ดออปชั่นอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันรองรับการ์ดที่เป็นอินเทอร์เฟซของฟอร์แมตสัญญาณชนิด MADI, Dante, Thunderbolt และอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ขยายขีดความสามารถของบอร์ด X32 ได้มากขึ้น อินเทอร์เฟซส่วนมากของระบบเสียง PA จะมีระบบเน็ตเวิร์กสำคัญๆ อย่างเช่น Cobranet, Ethersound, Dante, Ravenna และ IEEE AVB สำหรับโปรเจคสตูดิโอจะใช้ระบบมัลติแชนเนลแบบ ADAT และ AES3 อินเทอร์เฟซ ซึ่งช่วยให้การทำงาน world-clock I/O ได้ดีเช่นกัน และนี่ถือเป็นฟรีเจอร์หนึ่งของคอนโซลรุ่นนี้ สามารถปรับเป็นซับมิกซ์สำหรับการเร็คคอร์ด หรือการโยนสัญญาณโดยตรงไปยังอุปกรณ์ภายนอก อย่างพวกฮาร์ดไดร์ฟภายนอก ซึ่งแน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการ์ดที่มีพอร์ต USB
สัญญาณเราท์ติ้งระหว่างภาค I/O ที่เป็นกายภาพและอินพุต/เอาต์พุตภาค DSP นั้นจะทำงานผ่านเมนู Routing ซึ่งจะมีเพจหลักบนจอ โดยซอร์ซที่เป็นอินพุตจะถูกบล็อคไว้หากตั้งเราท์ติ้งไม่ถูกต้อง โดยจะมีให้เลือกจำนวน 8 บล็อค แต่ละแชนเนลจะมีอินพุตซอร์ซ สามารถเลือกจากปรีแอมป์ที่ถูกคอนฟิกไว้ในเพจที่แสดงผ่านจอ ซึ่งซอร์ซต่างๆ ที่ส่งเข้ามาอาจจะมีที่มาต่างกันและหลากหลายได้ ทั้งส่วนที่เป็นบัสภายใน โดยเอาต์พุตที่เป็นกายภาพ จะสามารถกำหนดจากหน้าเพจย่อยได้จากเมนูดังกล่าว และจะมีออปชันให้เลือกซอร์ซที่เราต้องการ (main LCR output, mix bus, matrix, direct out หรือ monitor) การกำหนดเอาต์พุตจะเป็นเหมือนซับเซต และ tap : pre/post EQ หรือ pre/post fader แต่ละจุดจะใช้อ้างอิงสัญญาณที่ผู้ใช้ต้องการกำหนด โดยค่าดีเลย์ที่ต้องตั้งไว้เพื่อกันการหน่วงของสัญญาณจะได้มากถึง 500ms หรือเทียบเท่าระยะประมาณ 170 เมตร…
สัญญาณ DSP
สำหรับสัญญาณ DSP ที่มาจากอินพุตทั้ง 32 แชนเนล ซึ่งประกอบด้วยการแปลงจากสัญาญาณบวกลบ, ค่าเกนความดังระดับ -12dB ถึง +60dB, ค่าดีเลย์ไทม์, ค่าไฮ-พาส ฟิลเตอร์, เกต, และอินเสิร์ท ซึ่งสามารถกำหนด pre หรือ post EQ และบล็อคคอมเพรสเซอร์ได้ โดยอินเสิร์ท สามารถเร้าท์สัญญาณของ I/O ให้มีผลทางกายภาพได้ หรือการปรับแต่งเอฟเฟ็กต์ภายในได้ ถัดไปเป็นชุด EQ จำนวน 4 แบนด์ความถี่ และคอมเพรสเซอร์/เอ็กแพนเดอร์ แต่ละส่วนจะมีพาร์ทของสัญญาณแยกอิสระ โดยทั้งเกทและคอมเพรสเซอร์จะมีฟิลเตอร์อยู่ฝั่งอินพุต ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับระดับไฮ-โลว์พาสฟิลเตอร์โหมดได้ 6 หรือ 12dB/octave หรือปรับแบนด์พาสของแบนด์วิธเสียง โดยคีย์สำคัญอยู่ที่อินพุตของการเลือกทุกๆ แชนเนล, aux อินพุต, เอฟเฟ็กต์รีเทิร์น หรือมิกซ์บัส…
สัญญาณของแต่ละแชนเนล จะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่มีผลต่อสัญญาณ เช่น Mute, fader, pan ในส่วนนี้สามารถกำหนดได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ รวมถึงการเซตสัญญาณซ้ายขวาและกลางของเอาต์พุต ตลอดจนสัญญาณสเตอริโอที่สามารถแยกเป็นโมโน หรือการเซตแบบ ซ้ายกลาง ขวา ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องจัดการผ่านชุดเราท์ติ้งโดยเลือกจากชุด mix bus ทั้ง 16 ชุด ซึ่งประกอบด้วยสัญญาณ tap : pre- หรือ post-EQ และ pre/post-fader โดยทั้ง 16 บัสจะใช้สร้าง aux ทั้งหมดของ aux sends, subgroups, และมิกฟีดอื่นๆ ทั้งการโซโล่แชนเนล การคอนฟิกมอนิเตอร์จากจุดเดียวกันของมิกซ์เราท์ติ้ง…
ในส่วนของ aux line อินพุต เป็นสัญญาณหนึ่งที่อยู่ในสวิงระดับถึง +/-12dB พร้อมกับชุด EQ จำนวน 4 แบนด์ ฟังก์ชั่นคุม mute, fader, pan, mix bus, solo ซอร์ซ ซึ่งรันบนสเตอริโอเอฟเฟ็กต์ภายในจำนวน 8 ตัวพร้อมกัน โดยรีเทิร์นสัญญาณกลับไปยังแชนเนลที่เลือกผ่าน aux ต่างๆ ซึ่งจะคุมได้ทั้ง mute, fader, pan เช่นเดียวกับฟังก์ชั่นอื่นๆ…
ไลน์เอาต์พุต ค่า sine wave หรือ pink/white น้อยส์ สามารถปรับอ้างอิงได้ ส่วนของทอร์คแบ็กสามารถใช้ไมค์ที่ฝังมากับตัวบอร์ด หรือจะต่อกับไมค์ภายนอก ซึ่งรองรับทั้งแพนทอมเพาเวอร์และช่องต่อแบบ XLR โดยพรีเซตของทอร์คแบ็กสามารถปรับคอมเพรสเซอร์ได้ ซึ่งจะมีผลต่อเอาต์พุตสัญญาณ และปุ่มสำหรับควบคุมทอร์คแบ็กจะมีสองปุ่มที่ใช้งานหลักคือ latch/momentary ซึ่งออสซิลเลเตอร์จะทำงานแยกอิสระต่อมิกซ์บัสแบบเมนเอาต์พุต…
สัญญาณที่เป็นภาค DSP ของเมนเอาต์พุตจะมี left, right และ centre พร้อมกับชุด EQ แบนด์ความถี่ พร้อมกับคอมเพรสเซอร์/เอ็กแพนเดอร์ ซึ่งการโปรเซสจะทำทั้งไปกลับ และคีย์สำคัญคือการปรับฟิลเตอร์ได้อีกด้วย หลังจากที่มีการกดสวิตช์ และควบคุมเฟดเดอร์ สัญญาณจะตอบสนองทางเอาต์พุตกายภาพ ผ่านคอนโซลในเราท์ติ้งเมทริก ทั้งสัญญาณโพสเฟดเดอร์สามารถกำหนดเราท์ได้ทุกๆ มิกซ์บัสทั้ง 6 ช่องสัญญาณ หรือจะโซโลบัสก็ได้… จากจำนวน 16 mix bus จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ยืดหยุ่นได้มากขึ้น บวกกับการเลือกการแพนของสัญญาณในแบบต่างๆ อาทิ LR หรือ LCR ซึ่งแบ่งได้สูงสุด 6 mix bus หรือ 6 เมทริก ช่วยทำให้สัญญาณกลุ่มเดียวกันมีทางลำเลียงไปตามที่ต้องการ ทั้งในส่วนเอาต์พุตที่สามารถจัดการผ่านเราท์ติ้งเมทริก ซอร์ซของมอนิเตอร์ สามารถเลือกได้จาก LR ของ mix bus และสเตอริโอเอาต์พุตแบบ pre/post ของเมนเฟดเดอร์ หรือจะเลือกตรงจาก aux 5-6 หรือ 7-8 (USB) การเลือกซอร์สของแต่ละแชนเนลนั้น เราสามารถกดปุ่ม solo เช็คสัญญาณได้ รวมทั้งสัญญาณโมโนที่เข้ามา ตลอดจนสัญญาณที่ดีเลย์ ตรงนี้จะมีโวลุ่มแยกอิสระในการควบคุมมอนิเตอร์และหูฟังของสัญญาณเอาต์พุต…
เอฟเฟ็กต์เอนจิ้น
X32 มีเอฟเฟ็กต์จำนวน 8 สล็อต โดยทำงานแบบสเตอริโอและทำงานพร้อมๆกันได้อย่างดี ซึ่งเป็นการออกแบบเอนจิ้นที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการใช้เอฟเฟ็กต์ได้กว้างมากๆ อาทิ delay, chorus, phasing, flanging และ pitch-shifting ตลอดจนการลดทรานเซี้ยนเอฟเฟ็กต์, ลิมิเตอร์, เอ็นฮาเซอร์, กีตาร์แอมป์ และปรีแอมป์โมเดลลิ่ง พร้อมกับเอฟเฟ็กต์จำลองโรตารีสปีคเกอร์ แถมยังมีรีเวิร์บคุณภาพสูงหลายตัว ซึ่งเอนจิ้นทั้งหมดสามารถรันผ่าน EQ ขนาด 31 แบนด์ เอฟเฟ็กต์บางตัวใช้กับเสียงร้องได้อย่าง de-esser ซึ่ง Behringer รับรองความใหม่ของเอฟเฟ็กต์หลายตัวที่มาพร้อมกับเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ…
สำหรับเอฟเฟ็กต์สามารถเซตได้ที่ 4 เอนจิ้น ซึ่งเป็นเอนจิ้นที่รันผ่าน aux send หรือ insert โดยทั้ง 4 ชุดจะถูกคอนฟิกเป็น 4 สเตอริโอแบบมัลติเอฟเฟ็กต์ จาก aux แล้วถูก return กลับมาที่ mix bus หรือคิดเป็น 8 โมโน ผ่าน EQ ขนาด 31 แบนด์ที่ insert เข้ามาที่มอนิเตอร์, เมทริก และ FOH การทำงานเอฟเฟ็กต์สามารถซิมมูเลทหรือจำลองแร็คจริงที่มีชื่อเสียง อย่างรุ่น Lexicon 480L และ PCM70, EMT250, และ Quantec QRS ตลอดจน Klark Teknik DN780 ซึ่งคุณภาพเสียงถือว่ายอมรับได้ ในส่วนของกราฟิกอินเทอร์เฟซ ก็ออกแบบสวยงาม ง่ายต่อการแก้ไข และง่ายต่อการเรียกมาใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์วินเทจดังๆ จากค่ายดังๆ จะถูกบรรจุอยู่ในบอร์ด X32 อาทิ Roland, Yamaha, EMT, Lexicon เป็นต้น…
คอนโทรลเซอร์เฟซ
X32 ออกแบบให้มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป สามารถนำไปวางบนโต๊ะทำงานทั่วไปได้ ซึ่งมีขนาดตามสเป็กคือ 900 x 528 x 200mm ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องหนักสุทธิ 21 กิโลกรัม สามารถยกเคลื่อนย้ายด้วยจำนวนคนเพียงคนเดียวได้ ส่วนความต้องการพลังงานไฟฟ้าอยู่ 120 วัตต์ ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับได้ทั่วโลกตั้งแต่ความต่างศักย์จาก 100 โวลต์ถึง 240 โวลต์ พร้อมช่องต่อกับก้านไฟขนาดเล็ก ซึ่งต้องการแรงดันที่ 12 โวลต์
บอร์ด X32 มีความเป็นคอนโทรลเซอร์เฟซ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญอย่างแชนเนลสทริป ซึ่งอยู่ด้านบนของตัวเครื่องทางฝั่งซ้ายมือ และจอขนาด 7 นิ้วที่ปรับความละเอียดสูงสุดที่ 800×480 พิกเซล เป็นจอสีแบบ TFT ซึ่งด้านข้างจอมีมิเตอร์วัดความดังของเมนเอาต์พุต พร้อมกับมีระบบมอนิเตอร์และทอร์คแบ็กที่ถูกเซตไว้อยู่ฝั่งขวามือ และยังมีชุดเอนโค้ดเดอร์/สวิตช์จำนวน 6 ชุดสำหรับรันคำสั่งและเป็นปุ่มกดในตัว ซึ่งปุ่มจำนวน 8 ตัวที่อยู่ฝั่งขวามือของขอบจอ สามารถที่จะคอนฟิกฟังก์ชั่นต่างๆ ได้ ในส่วนด้านบนของจอจะแสดงสถานะที่เราเลือกแชนเนลใดๆ ซึ่งซีนปัจจุบันและซีนถัดไปจะบอกสถานะเป็นตัวเลขให้ผู้ใช้ทราบชื่อ การเลือกเพลย์แบ็กด้วยแฟลชไดร์ฟ USB จะมองเห็นชื่อของไฟล์เพลง และสถานะการเร็คคอร์ดของเสียงผ่าน USB เช่นกัน ดังนั้นการแสดงผลของ AES50, สล็อตของการ์ดพวกกลุ่มคล็อคซิงโครไนซ์ รวมถึงสถานะ sample rate ตลอดจนเวลาปัจจุบันจะอยู่บริเวณด้านบนของจอภาพ…
ด้านล่างของบอร์ด X32 จะพบเฟดเดอร์ที่ควบคุมแชนเนลอินพุตทั้งชุดละ 16 และอีก 8 group รวมถึงเมนสเตอริโอเอาต์พุตอีกชุด ซึ่งทั้งหมดเกนจะอยู่ที่ระดับ 10dB ทั้งหมดสามารถที่จะกำหนดหรือ assign เองผ่านปุ่ม encoder ตลอดจนการ mute พวก group ทั้ง 6 ปุ่ม และการ recall ซีนต่างๆ บนบอร์ดยังมีถาดวางโทรศัพท์สมาร์ทโฟนด้านข้างเพื่อวัด SPL มิเตอร์ หรือวัดความถี่ RTA ได้ด้วย…
จำนวน group ทั้ง 8 ปกติจะใช้ assign ชุด DCA หรือ digitally controlled amplifiers หรือ virtual groups ซึ่งไอเดียของ DCA ก็คือเป็นชุดควบคุมหลักๆ ที่คุม group, aux, fadder ต่างๆ ภายใต้สไลด์เฟดเดอร์ตัวเดียว แต่ละเฟดเดอร์จะมีมอเตอร์ควบคุมการเคลื่อนไหวขึ้นลงด้วยสายพาน โดยเฟดเดอร์มีขนาด 100mm พร้อมกับจำนวนแบงค์อีกสี่ชุด ที่ใช้ควบคุมเฟดเดอร์จากแชนเนล 1-16 และ 17-32 และ aux จำนวน 8 aux อินพุต ซึ่งสามารถ Return สัญญาณเอฟเฟ็กต์ภายในกลับมา โดยแยกเฟดเดอร์ซ้ายและขวา หรือจะเป็นชุด mix bus ทั้ง 16 ชุด ตัว DCA ทั้ง 8 ชุดสามารถ assign เพื่อควบคุม submix bus ได้ทั้ง 2 แบ็งค์ หรือ 6 เมทริก บวกกับบัส centre/mono ผู้ใช้จะพบว่าเฟดเดอร์ทั้ง 8 ชุด สามารถทำงานผ่านโหมดรีโมท โดยใช้ DAW ควบคุมผ่านโพรโตคอลของ Mackie หรือ HUI โดยทั้ง 16 แชนเนล จะไม่เกี่ยวกับสัญญาณ MIDI หากมีการควบคุม DAW ตัวซอฟต์แวร์ DAW สามารถควบคุมผ่าน Remote ผ่านเลเยอร์เฉพาะที่เราเปิดปิดการทำงานได้…
สำหรับจอ LCD สามารถแสดงผลสถานะของตำแหน่งระดับของเฟดเดอร์และมิเตอร์ต่างๆ ทั้งของบอร์ด X32 เราสามารถกำหนดชื่อแต่ละแชนเนล และสัญลักษณ์ต่างๆ แทนการใช้เทปกาวแปะ แล้วเขียนด้วยปากกาเมจิกในแบบบอร์ดอะนาลอก ทำให้จดจำได้ง่าย สีของจอ LCD ที่แสดงผลจะปรับไปตามสัญลักษณ์ที่เรากำหนด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับไอคอนอินพุต หรือช่วยให้การทำซับมิกซ์และ DCA เฟดเดอร์และการทำ Group อินพุตแชนเนลมีความพิเศษขึ้น…
สรุปทิ้งท้าย
ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในตลาดคอนโซลดิจิตอล สำหรับงานในโฮมสตูดิโอ ที่ต้องการคุณภาพเสียงดี สำหรับคุณภาพเสียงหลังจากทดสอบแล้ว พบว่าสามารถเปรียบเทียบกับบอร์ดระดับเดียวกันในราคาที่ใกล้เคียงกันได้อย่างสบาย ส่วนการทำงานภาคคอนเวอร์เตอร์ดิจิตอลนั้น สามารถรัน sample rate ได้ตั้งแต่ 44.1kHz หรือ 48kHz ได้ ซึ่งการทำงานที่ระดับ 48kHz จะเหมาะกับการทำโปรดักชันวิดีโอ ซึ่งจะมีระบบคล็อคซิงโครไนซ์กับอุปกรณ์ภายนอกได้อย่างไม่มีปัญหา ในส่วนของ Latency พบว่าเอาต์พุตอะนาลอกทำได้ดีมาก คืออยู่ที่ 0.85ms ในขณะค่าดีเลย์ต่ำสุดที่ทดสอบได้คือ 0.25ms ซึ่งการใช้อินเทอร์เฟซของ AES50 จะช่วยให้การดีเลย์ของสัญญาณต่ำลง โดยเฉพาะการถ่ายโอนสัญญาณอะนาลอกสู่อะนาลอก ไปยังสเตทบ็อกซ์บนเวที ซึ่งจะมีความคลาดเคลื่อนไม่ถึง 1ms เรียกว่าเป๊ะมาก ซึ่งตรงนี้เป็นจุดแข็งของบอร์ด X32 และถือเป็นคุณสมบัติที่ดีของบอร์ดดิจิตอลอีกด้วย ทำให้การเช็คสัญญาณมอนิเตอร์ของนักดนตรี ไม่คลาดเคลื่อน ซึ่งปกติระบบ IEM จะมีปัญหาเรื่องดีเลย์ของสัญญาณ PA และมอนิเตอร์มากๆ ในส่วนนี้ภาค DSP ได้แก้ปัญหาดังกล่าวของคอนโซล ยิ่งพวกที่รันความถี่สูงระดับ 96kHz ก็จะมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคอนโซลรุ่นนั้นๆ สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้เพียงไร ทั้งสัญญาณอินพุตแชนเนลและเอาต์พุต ในส่วนนี้จะไม่กล่าวถึงปัญหาของความดีเลย์ที่ระดับความถี่ 96kHz
เสียงตอบรับจากผู้ใช้งาน X32
ผู้เขียนได้พูดคุยกับคุณเปาโล กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ใช้ X32 โดยเริ่มจากคำถาม ความแตกต่างระหว่างบอร์ดดิจิตอลกับบอร์ดอะนาลอก…? จากนั้น คุณเปาโล กาฬสินธุ์ ได้อธิบายว่า…
(1) บอร์ดดิจิตอลจะได้เปรียบในเรื่องความสะดวกสบาย ติดตั้งระบบง่าย ลดความยุ่งยากพวกสายสัญญาณ รวมถึงพวกเอฟเฟ็กต์ข้างนอกที่ต้อง Insert สัญญาณกลับไปที่บอร์ด…
(2) ดิจิตอลจะดีในแง่ความคล่องตัว บอร์ดขนาดเล็กๆ จะมีสมรรถนะเทียบเท่ากับบอร์ดอะนาลอกขนาดใหญ่ และยังขนย้ายง่ายกว่า…
เมื่อผู้เขียนยิงคำถามตรงๆ ประทับใจบอร์ด X32 ตรงไหน…? คราวนี้ คุณเปาโล กาฬสินธุ์ ตอบทันทีว่า ราคาไม่แพง มีความคุ้มค่า ส่วนเรื่องการใช้งาน ชอบที่มันง่ายดี ฟังก์ชันการทำงานมีครบ ทำงานได้กว้างทั้งในสตูดิโอและงานคอนเสิร์ตทำได้หมดไม่มีปัญหา… ต่อด้วยคำถามว่า คุณภาพเสียง X32 ดีแค่ไหน…? จบคำถาม คุณเปาโล กาฬสินธุ์ ตอบว่า บอร์ด X32 เสียงดี ใช้ได้เลย คุณภาพงานที่เราเร็คคอร์ดจากบอร์ดนี้มีคุณภาพไม่ด้อยกว่าบอร์ดรุ่นอื่นๆ ที่อยู่ในเกรดเดียวกันครับ…
ปิดท้ายที่คำถาม ผู้ใช้ที่ไม่เคยเล่นบอร์ดดิจิตอลมาก่อนจะใช้ X32 ได้ไหม… คงเป็นคำถามที่คาดว่าผู้อ่านหลายท่านคงอยากรู้ คุณเปาโล กาฬสินธุ์ อธิบายคร่าวๆ ดังนี้… ถ้าไม่มีพื้นฐานด้านสตูดิโอมาก่อน อาจจะต้องใช้เวลานิดนึง แต่ไม่ยากหรอกครับ บอร์ดรุ่นนี้ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายๆ คนทำงานสาย อะนาลอกควรทำความเข้าใจกับฟังก์ชั่นการสั่งงานคำสั่งต่างๆ ของบอร์ด บางฟังก์ชั่นจะแตกต่างกับบอร์ดอะนาลอก เช่น เรื่อง Aux, Bus, Pre, Post, เอฟเฟ็กต์ภายใน ซึ่งเรื่องการควบคุมสัญญาณจะไม่ง่ายแบบอะนาลอก ยกตัวอย่าง เมื่อเปิดเครื่องแล้วสัญญาณเสียงจะถูกปรับแต่งผ่านลูกบิด EQ, Gain, Aux แต่ดิจิ ตอลจะต้องตั้งโปรแกรมให้เครื่องจำ เพื่อเรียกมาใช้งานทีหลัง ยังไงก็ดี ท่านไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้งาน เพราะทางตัวแทนจำหน่ายมีบริการให้คำปรึกษาการใช้งานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การใช้งานเบื้องต้นไปจนถึงระดับสูง…
ขอบคุณ หจก.บูเซ่ แอนด์ ฮอคส์ ที่เอื้อเฟื้อ Behringer X32 พร้อมด้วย คุณเปาโล กาฬสินธุ์ ซาวด์เอ็นจิเนียร์ของ บุปผาไลท์แอนด์มิวสิค ได้เอื้อเฟื้อสถานที่ในการทดสอบครั้งนี้
หากท่านใดสนใจเกี่ยวกับบอร์ดคอนโซลดิจิตอลตัวนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หจก.บูเซ่ แอนด์ ฮอคส์ โทร.02-222-6403
สนใจสั่งซื้อ เครื่องเสียงกลางแจ้ง, ดิจิตอลมิกเซอร์
ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ติดต่อ บริษัทมิวสิคสเปซ จำกัด – www.soundspacethai.com
0 Comment