BEHRINGER XR18 แกะกล่องลองใช้

บทความโดย เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม ; Bobby524@hotmail.com

ที่มา : นิตยสาร The Absolute Sound & Stage 

เอฟเฟ็กต์บน XR18 ทุกตัวจะรันด้วยค่า Latency ที่ต่ำ 

เหมือนกับเอ็นจิ้น X32 ทุกประการ 

ดังนั้นจึงมั่นใจทั้งเรื่องความเสถียรและประสิทธิภาพ”… 

         หลังจาก Behringer ประสบความสำเร็จจากดิจิตอลมิกเซอร์รุ่น X32 ก็ทำให้เกิดปรากฎการณ์ใหม่ เรียกได้ว่าบอร์ดรุ่นนี้ถูกปล่อยมาเพื่อเขย่าตลาด ส่งผลต่อวงการเครื่องเสียงทั้งในและต่างประเทศอย่างมากทีเดียว ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา สังเกตว่าหลายๆ ค่ายต่างหันมาผลิตดิจิตอลมิกเซอร์ออกสู่ตลาดกันมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันในเรื่องราคาและอัดแน่นไปด้วยฟังก์ชันที่กระชากใจ ทำให้หลายคนกล้าตัดสินใจที่จะเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก

ฉะนั้นต้องยอมรับว่า X32 เป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ภาพรวมของตลาดดิจิตอลมิกเซอร์เปลี่ยนไป เดิมทีตลาดกลุ่มนี้เป็นอะไรที่เข้าถึงยาก เนื่องจากปัจจัยความคุ้มค่าด้านราคาและฟังก์ชันเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้ผู้ใช้ไม่กล้าซื้อ อย่างดิจิตอลมิกเซอร์รุ่นเล็กๆ ในอดีต มักจะเริ่มต้นกันที่หลักแสนกลางๆ ไปหาแสนปลายๆ อย่างไรก็ดี ด้วยยอดขายของ X32 จากผู้ใช้ทั่วโลกที่มากกว่า 1 แสนรายนั้น เป็นเครื่องการันตีว่าของเขาแรงจริงๆ

        ล่าสุดบนเทคโนโลยีเดียวกัน Behringer ได้เปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ที่มีขนาดเล็กลง โดยออกแบบรูปทรงอุปกรณ์ให้เป็นแร็ค แต่สมรรถนะยังเหมือนเดิม น่าจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถขนย้ายและทำงานได้คล่องตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานด้านไลฟ์ซาวด์และงานในสตูดิโอก็ตาม

behringer_xr18_2

โดยเฉพาะรุ่น XR18 ไฮไลท์คือรองรับการบันทึกเสียงในระบบมัลติแทร็กอีกด้วย สำหรับการพัฒนาจาก X32 สู่ XR18 นั้น ตัว XR18 มีจุดเด่นหลักคือมีขนาด 18 อินพุต 12 บัส เป็นมิกเซอร์ขนาดกระทัดรัดซึ่งคล้ายกับสเตจบ็อกซ์ มันถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แท็บเล็ตที่รันด้วยระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์และ iPad ไอเดียนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานทั้งในส่วนที่เป็นระบบแอปพลิเคชันไลฟ์ซาวด์และในสตูดิโอได้ พร้อมกับภาคไมค์ปรีที่ออกแบบโดย MIDAS ซึ่งได้รับรางวัลมากมายจนโด่งดังไปทั่ว บวกกับการควบรวมวงจร WiFi โมดูลเพื่อใช้สำหรับควบคุมผ่านระบบไวเลส และพอร์ต USB เพื่อใช้งานในเรื่องด้านการบันทึกเสียง

กล่าวคือ XR18 นอกจากจะเป็นมิกเซอร์แล้วยังเป็นออดิโออินเทอร์เฟซอีกด้วย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ของ XR18 ได้อย่างรวดเร็วและมีอิสระมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพารามิเตอร์ต่างๆ ของมิกเซอร์ โดยผ่านระบบ iOS, แอนดรอยด์ และพีซี โดยมีแอปฯ X-AIR Edit ที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีเพื่อนำไปใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทุกที่ทุกเวลา หรือจะเป็นการใช้งานในห้องที่เราแทร็กกิ้ง หรือจะเป็นการทำงานด้านเมตริกดีไซน์ ซึ่งวิศวกรได้ออกแบบฟังก์ชันต่างๆ ให้สามารถทำงานได้กว้างมากๆ และนี่คือสิ่งที่กำหนดเกมใหม่อีกครั้งหนึ่ง…


1ตำนาน MIDAS (MIDAS The Legend in Sound Quality)

ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1970 หากกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของยี่ห้อ MIDAS ต้องจัดว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่มีนวัตกรรมและเป็นผู้ นำของโลกในด้านการออกแบบคอนโซลมิกเซอร์เลยทีเดียว มีศิลปินดังๆ มากมายไว้วางใจติดตั้งอุปกรณ์ของMIDAS ทั้งที่เป็นงานทัวร์คอนเสิร์ตและงาน Installation ของสตูดิโอต่างๆ สำหรับบอร์ดของ MIDAS รุ่นที่ถือเป็นตำนานเลยก็คือ XL4 และ Heritage H3000 ซึ่งในอุตสาหกรรมดนตรีเป็นที่ทราบกันดีว่า บรรดาเอ็นจิเนียร์ให้การยอมรับจนเป็นมาตรฐาน ชื่อเสียงของ MIDAS เมื่อถูกยอมรับแล้วจึงกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก พวกเขาสร้างบอร์ดขึ้นมาเพื่องานทางด้านเสียงโดยเฉพาะ และที่สำคัญพวกเขาออกแบบเฉพาะวงจรที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น อุปกรณ์ที่ผลิตมาจึงให้เสียงที่ดี จนกระทั่งกวาดรางวัลดีเด่นในด้านต่างๆ มาแล้วหลายสถาบัน

โดยเฉพาะรางวัลด้านไมค์ปรี ซึ่งสถาบันที่เชี่ยวชาญในระบบเสียงระดับมืออาชีพยังให้การรับรองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นรุ่น XL8 และรุ่นซีรี่ส์ PRO ซึ่งใช้สำหรับงานไลฟ์ซาวด์ตลอดจนรุ่น heritage นั่นก็ได้รับรางวัลในด้านคุณภาพเสียงยอดเยี่ยมเช่นกัน สำหรับBehringer เป็นแบรนด์หนึ่งที่ได้ร่วมมือกับ MIDAS โดยให้ทางทีมวิศวกรของ MIDAS ออกแบบวงจรไมค์ปรี เพื่อให้คุณภาพเสียงของบอร์ดที่ผลิตขึ้นโดย Behringer มีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น เพื่อรองรับงานของผู้ใช้ทั้งไลฟ์ซาวด์และในสตูดิโอ ฉะนั้น Behringer ในวันนี้ไม่อาจถูกมองข้ามไปจริงๆ…


2

WiFi เราท์เตอร์ 3 โหมด (Built-In Tri-Mode WifiRouter)

ความเหนือชั้นของ XR18 คือเน้นความคล่องตัว เพื่อให้เหมาะกับงานระดับกลางลงมา ด้วยการออกแบบอุปกรณ์ขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ใช้พื้นที่เพื่อติดตั้งอุปกรณ์น้อยกว่า ไฮไลท์คือ XR18 ได้ใส่โมดูล WiFi เข้าไปที่อุปกรณ์ จึงทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมฟังก์ชันต่างๆ ของอุปกรณ์ผ่านรีโมทระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่ต้องซื้อหรือเซตอัพเราท์เตอร์ภายนอกให้วุ่นวาย ทำให้ผู้ใช้มีเวลาไปโฟกัสกับการมิกซ์เสียงมากขึ้น ซึ่งจากข้อดีตรงนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถไปยืนมิกซ์บนตำแหน่งใดๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบนเวที หน้าเวที หรือบริเวณผู้ชมมุมที่ไหนสักแห่ง บวกกับผู้ใช้สามารถปรับแต่งไลฟ์มอนิเตอร์ผ่านอุปกรณ์เสริม ซึ่งศิลปินที่อยู่บนเวทีสามารถจัดการอินเอียร์มอนิเตอร์ด้วยตนเองโดยอิสระ ผ่านแท็บเล็ทของตนได้เลย สำหรับโหมด WiFi ของ XR18 มีดังนี้…

1. แอ็คเซสพ้อยส์ (Access Point) เป็นทางเลือกง่ายๆ ที่ให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ลูกข่าย (Client) ได้โดยตรงถึง 4 ตัวพร้อมกัน อาทิ iPad, แอนดรอยด์, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ท, โน้ตบุ๊ค เป็นต้น โมดูลนี้จะเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อใช้ควบคุมเป็นรีโมทระยะไกล ซึ่งมันจะรันผ่านสัญญาณไวร์เลสและเชื่อมต่อถึงกันในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที…

2. ลูกข่าย WiFi อุปกรณ์จะอนุญาตให้ผู้ใช้เชื่อมต่อมิกเซอร์ที่เป็นระบบไวร์เลสเข้าด้วยกัน โดยคอนโทรลผ่านแอปฯต่างๆ โดยกำหนดให้ XR18 เป็นเครื่องลูกข่าย…

3. ทางเลือก (Alternative) การเชื่อมต่อสายสามารถทำได้โดยตรงผ่านพีซี หรือผ่านระบบ LAN หรือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เฉพาะทาง เช่น WiFi เราท์เตอร์ เพื่อขยายระบบให้รองรับอุปกรณ์มากขึ้น อย่างเช่นการใช้ระบบแอปฯ 5GHz เป็นต้น

3

การบันทึกเสียงแบบง่ายๆ (Recording Simplified)

        XR18 ออกแบบมาเพื่อให้สามารถบันทึกเสียงได้อย่างรวบรัดฉับไวบน I/O ขนาด 18×18 แชนเนล โดยผ่านพอร์ต USB ซึ่งจะรับ-ส่งข้อมูลสองทาง จุดนี้ทำให้ XR18 มีความโดดเด่นมากกว่าการเป็นแค่ดิจิตอลมิกเซอร์ธรรมดา ทำให้ผู้ใช้หมดความกังวลเรื่องอุปกรณ์บันทึกเสียง ที่บางท่านอาจจะเชื่อมต่อออดิโออินเทอร์เฟซเพิ่มเข้าไปในระบบ แต่สำหรับกรณีของ XR18สามารถเชื่อมต่อกับ iPad หรือพีซีได้เลย ในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถควบคุมการมิกซ์และเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ได้ตามปกติ อีกทั้งมีค่า Latency ที่ต่ำ พร้อมกันนี้ยังสามารถบันทึกเสียงจากไมโครโฟนได้พร้อมกันถึง 16 ตัว หรือจะเป็นการบันทึกสัญญาณ MIDI จากคีย์บอร์ดซินธิไซเซอร์ หรือคีย์บอร์ดคอนโทรลเลอร์ ด้วยซอฟต์แวร์บันทึกเสียงประเภท DAW อย่าง Cubase, Logic, Pro Tools ก็ได้ จากที่ผู้เขียนได้มีโอกาสทดลองใช้งานในเรื่องการบันทึกเสียง ต้องยอมรับว่า มีอะไรเด็ดกว่าที่คิดไว้พอสมควร เดี๋ยวจะมาบรรยายสรรพคุณในเรื่องนี้อีกครั้ง…


4ปฎิวัติระบบด้วย Auto-Mixing  (Revolutionary Auto-Mixing)

เมื่อเราออกแบบแอปพลิเคชันที่ต้องใช้งานไมโครโฟนหลายๆ ตัวพร้อมกัน ปัญหาการควบคุมเกนของไมค์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบนเวที หรือในห้องประชุม หรือสถานที่อื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไมค์หลายๆ ตัวในคราวเดียวนั้น มักจะสร้างปัญหาให้กับเอ็นจิเนียร์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญไม่สามารถที่จะเร่งเกนได้สูงๆ หรือไม่อาจลำดับความสำคัญของไมค์แต่ละตัวได้อย่างคล่องตัวนัก นั่นคือปัญหาใหญ่ของมิกเซอร์ทั่วไป

แต่สำหรับมิกเซอร์ในตระกูล X-AIR จะมีฟังก์ชันหนึ่งที่ใช้แชร์เกนร่วมกัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับสัญญาณเกนของไมค์แต่ละตัวได้ง่ายขึ้น โดยมันจะทำงานในเชิงออโตเมทซึ่งควบคุมไมค์ได้พร้อมกันมากถึง 16 ตัว โดยฟังก์ชันนี้จะทำงานตามแบบ Dan Dugan Automix ซึ่ง XR18 จะแชร์เกนให้โดยอัตโนมัติ เพื่อควบคุมเลเวลของสัญญาณที่ไมค์แบบเรียลไทม์ โดยไม่ไปแตะเรื่องเกทและผสมน้อยส์เข้ามา ฟังก์ชันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ดิจิตอลมิกเซอร์หลายค่ายชูเป็นจุดขาย ว่ามันสามารถช่วยลดการเกิดปัญหาฟีดแบ็กได้ดี หรือกระทั่งน้อยส์ของสตูดิโอและปัญหาเรื่องโคมบ์ฟิลเตอร์ เมื่อมีการเชื่อมต่อไมค์มากกว่าหนึ่งหรือสองตัวพร้อมกัน ซึ่งการต่อไมค์จำนวนมากๆ มักจะสร้างปัญหาได้โดยที่เราคาดไม่ถึง

สิทธิบัตร X-AIR Gain Sharing ถือเป็นเทคโนโลยีที่เตรียมไว้รองรับปัญหาของระบบในด้าน Gain Structure คือเมื่อมีการปล่อยสัญญาณออกที่ลำโพงหลายๆ ตัว ขณะที่เสียงพูดนั้นวนกลับมาเข้าไมค์อีกครั้งก็จะเกิดปัญหาดังกล่าวได้…


5

เอฟเฟ็กต์ X32 ออนบอร์ด 4 สเตอริโอ (4 Onboard X32 Effects Engines)

อุปกรณ์มีเอฟเฟ็กต์โดยใช้เอ็นจิ้นแบบเดียวกับ X32 ซึ่งประกอบด้วยเอฟเฟ็กต์ในตำนาน โดยถอดมาจากบอร์ดรุ่นพี่คือ X32 ซึ่งเป็นดิจิ ตอลคอนโซลตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เอฟเฟ็กต์ตัวออนบอร์ดจะจำลองการทำงานเสมือนระบบแร็ค โดยมี 4 เอฟเฟ็กต์สเตอริโอหรือ 8 โมโน พร้อมกับมัลติเอฟเฟ็กต์ ไม่ว่าจะเป็น ดีเลย์ คอรัส กลุ่มไดนามิก บวกกับ XR18 สามารถรันโปรดักชันคุณภาพสูง อย่างเอฟเฟ็กต์รีเวิร์บแบบ สเตอริโอแท้ๆ พร้อมกับ EQ-31 แบนด์ ซึ่งจะให้มาทุกๆ  Main Out และ Aux Buses โดยผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งเอฟเฟ็กต์ภายนอกใดๆ เพิ่มเติม

ผู้ใช้สามารถเลือกทุกๆ เอฟเฟ็กต์เพื่อจำลองการเชื่อมต่อไปที่แชนเนลใดๆ ก็ได้ ซึ่งเอฟเฟ็กต์เหล่านี้มักจะเป็นเอฟเฟ็กต์รุ่นดังๆ ในตำนาน ไม่ว่าจะเป็น Lexicon 480L และ PCM70 ตลอดจน EMT250 และ Quantec QRS reverbs สำหรับการประมวลผลเอฟเฟ็กต์ออนบอร์ดนั้น จะไม่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังคอมพิวเตอร์ เหมือนกับเอฟเฟ็กต์ที่เป็นปลั๊กอินของซอฟต์แวร์ DAW เนื่องจาก XR18 มีภาคประมวลผลเอฟเฟ็กต์ออนบอร์ดชุดนี้โดยตรง สำหรับการใช้งานเอฟเฟ็กต์แบบเดิม ผู้ใช้ต้องซื้ออุปกรณ์แร็คมาเพิ่ม ซึ่งมีปัญหาทั้งเรื่องการขนย้าย/ติดตั้ง ค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ใช้ที่ต้อง การความสะดวก สามารถเลือกใช้เอฟเฟ็กต์ออนบอร์ดเหล่านี้ได้เหมือนกับอุปกรณ์ของจริง โดยเอฟเฟ็กต์ทุกตัวจะรันด้วยค่า Latency ที่ต่ำ เหมือนกับเอ็นจิ้นX32 ทุกประการ ดังนั้นจึงมั่นใจทั้งเรื่องความเสถียรและประสิทธิภาพ พร้อมกับการเราท์ติ้งสัญญาณที่ไม่ต้องเจอกับปัญหาเรื่องสายเคเบิลอีกต่อไป…


เอฟเฟ็กต์ไฮเอ็นด์ (High-End FX Racks at Your Finger Tips)

หากใครเคยใช้เอฟเฟ็กต์ของ Teletronix รุ่น LA-2A จะทราบว่ามันให้เสียงที่ดีในแบบฉบับหลอด ให้เสียงที่อุ่นหนา และคมชัด พร้อมกับการคอมเพรสเสียงได้ดี มันถูกใช้เพื่อสร้างงานศิลปินมานานหลายทศวรรษ จุดเด่นคือจะให้ความสมูธของเสียง และเรื่องความดังอย่างสม่ำเสมอ บนตัว XR18 จะใช้ชื่อว่า

41Leisure Compressor  ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นธรรมชาติและมีผลต่อเนื้อเสียงดนตรีในด้านลบน้อยมาก ทางผู้พัฒนาได้แรงบันดาลใจจาก Teletronix LA-2A โดยตรง…

ถัดไปเป็นเอฟเฟ็กต์อีกตัวเมื่อ Urei เปิดตัว 1176LN Limiting Amplifier ในยุค 60 มันก็สร้างงานลือลั่นต่อวงการ ตัวอุปกรณ์ต้นแบบถูกผลิตด้วย Field Effect Transistors หรือที่เรียกว่า FET ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในขณะนั้น และ 1176 ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่นำเอาระบบการประมวลผลเสียงด้วยเทคโนโลยีใหม่มาผลิตอุปกรณ์ในเชิงพาณิชย์เป็นตัวแรกๆ และบนตัว XR18 ใช้ชื่อว่า

Ultimo Compressor ซึ่งอ้างอิงกับรุ่น โดยมีการ capture เอาฮาร์โมนิกอุปกรณ์รุ่นดังกล่าวมาไว้อย่างครบถ้วน เพื่อที่จะเลียนแบบคาเร็กเตอร์เสียงของมัน ซึ่งตัววงจรต้นแบบจะทำงานสเตจเอาต์พุตเป็นคลาส A โดยใช้ FET ซึ่งจะให้ค่า Attack ที่เร็วมากๆ สำหรับ Ultimo Compressor ได้แรงบันดาลใจจาก Urei 1176LN เต็มๆ…

43

Fairchild 670 เป็น tube compressor ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์วินเทจอีกตัวที่อยู่ในเกรดระดับไฮเอ็นด์ ห้องบันทึกเสียงชั้นนำเลือกใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และจัดเป็นคอมเพรสเซอร์ตัวหนึ่งที่โด่งดัง และต้องจารึกเป็นเกียรติประวัติให้กับอุปกรณ์ประเภทคอมเพรสเซอร์อีกด้วย ดูหน้าตาแล้วไม่มีอะไรซับซ้อนเลย ใช้งานง่ายแต่มันให้เสียงที่หนาและมีความแม่นยำของ Threshold ที่ดี เรียกว่าสัญญาณอินพุตเข้ามามันพร้อมตอบ สนองได้อย่างรวดเร็ว ในรูปของปลั๊กอินBehringer ได้ตั้งชื่อปลั๊กอินว่า Fair Compressor ซึ่งแน่นอนได้แรงบันดาลใจมากจาก Fairchild 670 สามารถทำงานได้ทั้งโหมดสเตอริโอและโมโน…

 

Combinator เป็นปลั๊กอินเอฟเฟ็กต์อีกตัวที่ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์ 5 แบนด์ ซึ่งโดยทั่วไปจะเห็น 4 แบนด์ แต่ตัวนี้ให้มาเลย 5 แบนด์ ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมใช้ในงานบรอดคาสต์และการทำมาสเตอริ่ง และมีระบบการประมวลผลที่ซับซ้อน ตัว Combinator จะทำงานโดยมีพารามิเตอร์ที่สามารถสั่งให้ตัวปลั๊กอินทำงานโดยอัตโนมัติ การ Makeup-gain สำหรับแต่ละแบนด์ความถี่ ซึ่งมันจะปรับโดยฟังก์ชันที่ชื่อว่า Spectral Balance Control (SBC) ฟังก์ชันนี้มีจุดแข็งคือมันจะช่วยบาลานซ์เสียงได้อย่างดี…

44

XTEC EQ1 เป็นอุปกรณ์ที่อิมูเลทการทำงานเพื่อเลียนแบบของจริง ซึ่งเหมาะกับงานเรคอร์ดมากๆ โดยหน้าตาจะคล้ายกับ Pultec EQP-1a ซึ่งทางผู้พัฒนาได้พยายามวิเคราะห์พฤติกรรมทางกายภาพของอุปกรณ์ให้อยู่ในรูปซอฟต์แวร์ แม้กระทั่งหน้าตาก็ยังเลียนแบบได้เหมือนมากๆ โดยเอาต์พุตสเตจของอุปกรณ์รุ่นนี้จะมีทั้งแบบหม้อแปลงและ Tube ซึ่งเป็นอะไรที่น่าลองมาก

 

XTEC EQ5 เป็นอุปกรณ์ที่ดูเรียบง่ายอีกตัวหนึ่งที่ดูหน้าตาปุ๊บรู้เลยว่าเป็น Pultec แต่ด้วยความทันสมัยของดิจิตอล แม้อุปกรณ์ต้นแบบผู้คนจะเริ่มนิยมน้อยลง เนื่องจากราคาเป็นตัวแปรสำคัญ ทางผู้พัฒนาได้ capture เอาคาเร็กเตอร์ของมันมา คุณภาพเสียงจัดว่าอยู่ในระดับที่ดี ปลั๊กอินเอฟเฟ็กต์รุ่นนี้จะหนักไปทางพาราเมตทริก EQ โดยจะคงความสมูทและจำลองการทำงานองค์ประกอบต่างๆ ไว้ครบถ้วน แรงบันดาลใจของ XTEC EQ5 ได้จาก Pultec MEQ5

 

Sub Octaver เป็นปลั๊กอินที่ออกแบบขึ้นใหม่ โดยมี 2 แชนเนล ที่ทำงานในลักษณะเป็นตัว sub-harmonics ของสัญญาณ โดยผู้ใช้สามารถปรับสัญญาณอินพุตที่เข้ามาให้ต่ำกว่าหนึ่งหรือสองออคเตปได้ ถามว่านำมาใช้กับอะไร คำตอบคือ วัตถุประสงค์นำมาใช้กับผู้เล่นเบส ตัวเอฟเฟ็กต์สามารถปรับย่านความถี่ Hi, Mid และ Low ได้ โดยการแทร็กกิ้งก็สามารถปรับได้กว้างพอสมควร นี่ก็ถือเป็นทีเด็ดอย่างหนึ่งของปลั๊กอินเอฟเฟ็กต์ค่าย Behringer เลยล่ะ…

 

EDISON EX1 เป็นการจำลองการทำงานอุปกรณ์จริงอีกตัว ที่ให้ความเป็นอะนาลอก โดยมีหน้าที่ทำให้เกิดมิติทางด้านสัญญาณมากขึ้น ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตได้ ทั้งแบบโมโนและสเตอริโอ ซึ่งมันจะประมวลผลพร้อมกับเช็คเฟสสัญญาณไปในตัว ซึ่งสังเกตได้จาก Phase Correlation Meter ซึ่งจะมี Mono, 90 และ 180 องศา สำหรับ EDISON EX1 ได้แรงบันดาลใจจาก BEHRINGER

 

SOUND MAXER เป็นอีกหนึ่งเอฟเฟ็กต์ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้สัญญาณเสียงดีขึ้นกว่าเดิม ในแง่ที่ว่า ช่วยให้เสียงกระจ่างชัดมากขึ้น โดยปรับเฟสและแอมปลิจูดของสัญญาณให้มีความเป็นธรรมชาติขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งเราใช้เอฟเฟ็กต์และ EQ อาจทำให้เสียงไม่เป็นธรรมชาติ เทคนิคเชียนบางคนถึงกับต่อต้านการ EQ เพราะมันมีผลต่อเสียงทั้งระบบ แรงบันดาลใจในการพัฒนาได้จาก Sonic Maximizer 482i…

 

DIMENSIONAL CHORUS กับอีกหนึ่งเอฟเฟ็กต์ที่พยายามจำลองอุปกรณ์ให้สมจริง โดยพยายามอิงกับอุปกรณ์คอรัสที่เป็นอะนาลอกมากที่สุด โดยมีการจำลองคอรัสได้ 4 โหมด ซึ่งมีปุ่ม 4 ปุ่ม ซึ่งจะใช้แอคติเวทการทำงานของคอรัสแต่ละแบบ ตรงนี้เป็นที่มาของคำว่า Space และ Dimension ซึ่งผู้พัฒนาก็พยายามทำให้ใกล้เคียงต้นแบบมากที่สุด โดยได้แรงบันดาลใจจาก Roland Dimension D Chorus…

45

MODULATION DELAY เป็นปลั๊กอินที่ควบรวมเอาจุดแข็งของโมดูลเลชันไว้หลักๆ 3 แบบ หนึ่งคือใช้งานง่าย สองเป็นสเตอริโอดีเลย์แท้ๆ และมีคอรัสให้อีกด้วย ด้านบนสามารถปิดการทำงานของแต่ละช้อยส์ได้ โดยมีรีเวิร์บเฉพาะ และยังรองรับพรีเซตแบบ Ambience, Club และ Hall อีกด้วย… อีกตัวต่อมา ENHANCERS เป็นเอฟเฟ็กต์ที่ใช้ปรับย่านความถี่ Bass, Midrange และ Hi เอาต์พุต ที่ถูกเลือกย่านความถี่นั้นๆ โดยให้ผู้ใช้เจนเนอเรทค่าสูงสุดที่ต้องการให้ซาวด์ย่านนั้นออกมาพั้นซ์ที่สุด และได้ความชัดเจนและมีรายละเอียดมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องไปปรับแต่งเรื่องความดังแต่อย่างใด สำหรับเอฟเฟ็กต์ตัวนี้ได้แรงบันดาลใจจาก SPL Vitalizer… ถัดไปเอฟเฟ็กต์อีกตัว

 

EXCITERS ช่วยเพิ่มค่า presence และค่าความชัดเจนของการได้ยินเสียง (intelligibility) ในระบบไลฟ์ซาวด์ และที่ขาดไม่ได้คือช่วยเพิ่มความชัดเจน เสียงอากาศ และฮาร์โมนิก โอเวอร์โทน เหมาะกับงานสตูดิโอ เอฟเฟ็กต์ตัวนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Aphex Aural Exciter…

 

STEREO TruEQ เป็นเอฟเฟ็กต์ที่แตกต่างจากกราฟิก EQ ทั่วไป โดยปลั๊กอินตัวนี้จะมี Frequency Respond ตั้งตามเฟดเดอร์จาก 20Hz ถึง 20kHz พร้อมก้านมาสเตอร์ ก็ยังคิดอยู่ว่ามันต่างกันยังไง ทางผู้พัฒนาเขาระบุว่ามันสามารถเซตฟิลเตอร์ได้ หรือ EQ ให้เสียงมันออกมาตามที่ต้องการในแง่ room EQ ซึ่งพัฒนาโดยอิงกับ BEHRINGER รุ่น UltraCurve DEQ2496 โดย XR18 สามารถที่จะอัพเข้าไปในแชนเนลต่างๆ เป็นโมโนกราฟิก EQ ถึง 16 ช่อง โดยแต่ละช่องจะเชื่อมได้ 6 Aux Buses และ Main LR บวกกับ 8 GEQ เอฟเฟ็กต์โมโน หรือคิดเป็น 4 สเตอริโอ ซึ่งสามารถ Insert เข้าไปในแต่ละแชนเนลได้เลย…

 

VINTAGE ROOM เป็นเอฟเฟ็กต์ระดับหัวกะทิ ในด้านรีเวิร์บทีเดียว และยังคงเอกลักษณ์ความเป็นวินเทจไว้ครบ จุดเด่นของมันคือสร้างอากาศและซาวด์รูมในเรื่องเรโซแนนท์ได้ดี โดยช่วงยุค 80 ถือว่าโด่งดังมาก ซึ่งมันสามารถจำลองห้องแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดคาเร็กเตอร์ของรีเวิร์บที่จำเป็นต้องใช้งาน ผ่านอัลกอริทึ่มของวงจรรีเวิร์บ โดยมีการคอนโวลูชันแล้วประมวลผล ไอเดียของรีเวิร์บก็คือใช้เพื่อมิกซ์หรือใช้กับซับกรู๊ป โดยเพิ่มขนาดของห้องให้กับเนื้อเสียงเดิมให้มีความซับซ้อนมากขึ้น จนได้สัญญาณที่มีคุณภาพสูง อย่างเพลงคลาสสิคและงานบรอดคาสต์ที่จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่สมจริงซาวด์จึงจะน่าฟัง แรงบันดาลใจมาจาก Quantec QRS

 

PLATE REVERB เป็นการจำลองคาเร็กเตอร์ของเพลทรีเวิร์บ ซึ่งควบคุมทั้งเรื่อง pad, modulation และค่า speed รวมถึงครอสโอเวอร์ ตัวเอฟเฟ็กต์จัดว่าคลาสสิคมากๆ ซึ่งแทร็กที่ใส่เอฟเฟ็กต์เข้าไปจะได้ยินเสียงราวกับว่าบันทึกเสียงในยุค 1950 ยังไงยังงั้นเลย สำหรับเอฟเฟ็กต์ตัวนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Lexicon PCM70

 

3-TAP DELAY ในตัว X32 จะใช้เป็นตัวบันทึกสัญญาณอินพุต ก่อนที่ปล่อยสัญญาณออกมาหลังผ่านเอฟเฟ็กต์ ซึ่งทำได้ทั้งแบบสเตอริโอและทริปเปิลดีเลย์ โดยมันจะลิงค์กับ tap-timing และเป็นตัวเลือกหนึ่งในการทำแอ็คโค่แพตเทิร์น เราใช้ 3-TAP DELAY กับเสียงร้องและเครื่องดนตรี หรือจะใช้เพิ่มมิติของเสียงได้ทุกๆ การแสดง

46

HALL REVERB เป็นเอฟเฟ็กต์ที่ทำมาเพื่องานที่ต้องการรีเวิร์บโดยเฉพาะ สามารถปรับค่ารีเวิร์บได้ตั้งแต่ห้องขนาดเล็กไปจนถึงห้องขนาดใหญ่ หรือจะมิกซ์ให้เข้ากับสัญญาณดั้งเดิมก็ได้ โดย Hall Reverb ตัวนี้สามารถให้เสียงที่อุ่น และมีความเป็นธรรมชาติมาก สำหรับแรงบันดาลใจได้จาก Lexicon 480L อุปกรณ์ตัวนี้ถือว่าเป็นมาตรฐานของสตูดิโอหลายๆ แห่ง มันทำงานในเชิงดิจิตอลรีเวิร์บบวกกับเพิ่ม Hall reverb เข้าไป โดยมีโปรแกรมรีเวิร์บถึง 4 ชุด อาทิ  Ambience, Rich Plate, Room และ Rich Chamber และปลั๊กอินตัวนี้ได้ capture เอาคาแร็กเตอร์ที่สมจริง ด้วยเทคโนโลยี True Physical Modeling ซึ่งเป็นอัลกอริธึมแบบหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานของ AD/DA มีความสมจริง โดยจำลองลักษณะการทำงานวงจรอะนาลอกขึ้นมาบนวงจรดิจิตอลที่มีรายละเอียดอย่างมาก…

 

FLANGER & DELAY เป็นอีกหนึ่งเอฟเฟ็กต์ที่ทำงานในเชิงไดนามิก ซึ่งจัดเป็นคลาสสิคดีเลย์อีกตัวหนึ่ง ที่สามารถปรับแต่งได้หลาก หลายไอเดีย โดยจับเอฟเฟ็กต์แฟลงเจอร์กับดีเลย์มาไว้ในชุดเดียวกัน ซึ่งเวลาใช้งานก็สะดวกที่จะใส่ลงในสล็อตเดียว ตัวนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Lexicon PCM70…

 

WAVE DESIGNER ตัวนี้เป็นเอฟเฟ็กต์ที่ใช้สำหรับกลองโดยตรง ในเรื่องของการปรับแต่งไดนามิก ซึ่งมีพารามิเตอร์ให้ปรับสามตัวคือค่า Attack, Release และ Gain หลักๆ มันจะใส่เอฟเฟ็กต์ transients เข้าไปในสัญญาณหลัก ปกติจะใช้กับกลองสแนร์ เพื่อให้เกิดเสียง แคร็ก ของแส่มากขึ้น หรือมิกซ์เข้ากับโวลุ่มสัญญาณแทร็กที่มีการเล่นแบบ Slap bass ก็ได้ ตัวเอฟเฟ็กต์ได้แรงบันดาลใจจาก SPL Transient Designer…

 

Stereo Precision Limiter ไอเดียของเขาคือใช้ควบคุมระดับความดังของโวลุ่มไม่ให้เกินโค้วตาที่กำหนด กล่าวคือเพื่อไม่ให้มันเกิดเสียงแตกของสัญญาณ การใช้งานเอฟเฟ็กต์ตัวนี้จะใช้บูสต์สัญญาณหรือลดเลเวลสัญญาณที่มันแรงๆ มากๆ ลงมาเพื่อไม่ให้มันคลิป เอฟเฟ็กต์ตัวนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Sony Oxford Dynamics

 

DE-ESSER เอฟเฟ็กต์อีกหนึ่งตัวที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะงานที่ต้องการแก้ไขเสียงร้องที่ผ่านไมค์เข้ามา โดยจะพยายามรักษาให้เสียงร้องนั้นออกมาให้มีน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติที่สุด การใช้งานจะมีผลทำให้ย่านความถี่ที่สูงกว่าย่านความถี่กลางไปจนกระทั่งย่านความถี่สูง ซึ่งมักจะเป็นย่านของเสียงร้อง ตลอดจนโอเวอร์เฮดและพวกเครื่องสาย รวมถึงเครื่องดนตรีอื่นๆ สำหรับแรงบันดาลใจของเอฟเฟ็กต์ตัวนี้ได้มาจาก SPL 1219…

 

VINTAGE REVERB เป็นเอฟเฟ็กต์ตัวหนึ่งที่พัฒนามาจากเอฟเฟ็กต์ EMT250 รุ่นในตำนาน จุดเด่นคือให้รีเวิร์บที่ไบท์ โดยที่เสียงต้นแบบไม่ดร็อป ซึ่งเหมาะกับงานบันทึกการเล่นสด ซึ่งตัว VINTAGE REVERB จะใช้กับเสียงร้องกับกลองสแนร์ โดยเสียงจะมีความคมชัดขึ้นแม้ว่าจะใส่รีเวิร์บไปก็ตาม เอฟเฟ็กต์ตัวนี้ได้แรงบันดาลใจจาก EMT250 Plate Reverb…

CHORUS & CHAMBER เป็นเอฟเฟ็กต์ตัวสุดท้ายที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ เนื่องจากมีทั้งคอรัสและแชมเบอร์ในตัวเดียว จึงใส่ลงในสล็อต FX ได้เลย โดยเป็นการรวมเอฟเฟ็กต์สองตัวไว้แร็คเดียว มันก็จะช่วยเบิ้ลความหนาของซาวด์มากขึ้น โดยคาเร็กเตอร์นั้นให้เนื้อเสียงระดับเกรดสตูดิโอ ให้คอรัสที่หวานและเพิ่มความเป็นแชมเบอร์ของรีเวิร์บเข้าไปอีกด้วย สำหรับเอฟเฟ็กต์รุ่นนี้ได้แรงบันดาลใจจาก Lexicon PCM70…


47

100-Band RTA

อีกหนึ่งฟรีเจอร์ที่มาพร้อมกับ XR18 ซึ่งเป็น RTA คุณภาพสูง ซึ่งตัวนี้มีถึง 100 แบนด์ เป็น Real Time Analyzer ที่ใส่เข้าไปได้ทุกๆ แชนเนล พร้อมกับมุมมองที่แสดงให้เห็นทั้งบาร์และสเปกโทกราฟ โดยแสดงผลด้วยความละเอียดสูง ซึ่งทำให้เห็นพลังงานของเสียงมากถึง 100 ความถี่ การ capture สามารถทำได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 10 วินาที

นอกจากนั้นยังสามารถสลับหน้าจอแสดงผลระหว่างจอธรรมดาและจอขนาดใหญ่ได้ โดยที่ไม่ได้ลดคุณภาพของการแสดงผลแต่อย่างใด หรือจะควบรวม RTA เข้าด้วยกันเพื่อแสดงผลด้านบนของแต่ละแชนเนลและบัส EQ ซึ่งจะเห็น Curves ของ EQ ได้ชัดเจน และเห็นผลของการฟิลเตอร์เป็นรูปกราฟชัดเจน บวกกับ RTA สามารถที่จะแสดงครอบคลุมได้ถึง 31 แบนด์ความถี่ตามมาตรฐานของกราฟฟิก EQ ใน Main LR หรือ Aux Buses ในส่วนของมอนิเตอร์และตัวควบคุมความถี่ ซึ่งแต่เดิมมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะจัดการในลักษณะดังกล่าวได้…


จัดการมอนิเตอร์ส่วนตัวได้ 16 แชนเนล

53

ทางเลือกหนึ่งที่ง่ายมากในการส่งสัญญาณเสียง ผ่านช่องทางการเชื่อมต่อด้วยพอร์ต ULTRANET ซึ่งสามารถส่งซอร์สในรูปของดิจิตอลได้พร้อมกัน 16 ช่อง ผ่านสายสัญญาณ CAT5 โดยใช้อุปกรณ์ P16-D Digital ULTRANETเป็นตัวจ่าย หรือจะต่อตรงผ่าน P16-M Personal Monitor Mixers ของ Behringer ก็ได้ ตรงนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีอันล้ำสมัย ที่ทำให้นักดนตรีแต่ละคนสามารถปรับแต่งมอนิเตอร์ได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเอง เพื่อให้โชว์ของตนออกมาอย่างเต็มที่ เนื่องจาก ULTRANET ได้ออกแบบมาเพื่อทำให้การเชื่อมต่อสำหรับจัดการกับมอนิเตอร์โดยตรง ซึ่งสามารถส่งไปยังมิกซ์ของท่าน หรือกระทั่งส่งไปยังลำโพงรุ่นใหม่ของ TURBOSOUND iQ ซีรี่ส์ได้เช่นกัน โดยสัญญาณดิจิตอลทั้ง 16 แชนแนลจะถูกแท็บส่งไปบัสดิจิตอลโดยตรง

ถามว่ามันช่วยแก้ปัญหาได้ดีแค่ไหน หากท่านเป็นเอ็นจิเนียร์ แล้วนักดนตรีแต่ละคนบนเวทีชอบขอนั่นขอนี่ เบสเบาไป กีตาร์ดังไป เสียงร้องไม่มี คีย์บอร์ดก็ไม่มา บางครั้งนักดนตรีก็เกรงใจเอ็นจิเนียร์ไม่กล้าขอนั่นนี่ เอ็นจิเนียร์ก็นึกว่านักดนตรีพอใจกับมอนิเตอร์ที่จัดไปให้ แต่ที่ไหนได้ต้องเล่นแบบมโนเอาไปจนจบโชว์คอนเสิร์ต หรือบางทีจัดเสียงกีตาร์เข้าไปแรงๆ จนมือกีตาร์แหยงๆ ก็มี แต่ก็ไม่กล้าปริปาก ดังนั้นการที่มีเครื่องมือในการช่วยให้นักดนตรีแต่ละคนสามารถจัดการมอนิเตอร์ได้เอง ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ดังนั้น การจัดการมอนิเตอร์ผ่าน ULTRANET จึงเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมจริงๆ…


49

การประมวลผล

        XR18 จะทำการประมวลผลในทุกๆ แชนเนลแบบจริงจังและคงเส้นคงวา โดยการันตีจากรางวัลที่ X32 ได้คว้ามา ถามว่าแล้วเกี่ยวอะไรกับ XR18 ก็เพราะว่าเอ็นจิ้้นส่วนใหญ่ของ XR18 นั้นถูกออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับ X32 นั่นเอง โดยทุกๆ แชนเนลจะใส่ EQ ได้หมด พร้อมกับมี RTA 100 แบนด์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้วิเคราะห์ทุกๆ สัญญาณอินพุตที่จ่ายเข้ามาร่วมถึงบัสอีกด้วย การควบคุมฟีดแบ็กจึงเป็นเรื่องง่ายดาย เพราะเราสามารถคอนโทรลผ่านแอปฯ โดยที่เราจะมองเห็นทุกอย่างของภาพรวมในทุกๆ แชนเนลอย่างรวดเร็ว เวลาใช้งานจึงทำให้ผู้ใช้เข้าถึงส่วนนี้ได้เร็ว ไม่ว่าท่านต้องการบูสต์หรือคัตก็ตาม ซึ่งท่านจะต้องทึ่งกับรูปแบบการใช้งาน EQ อย่างไม่เคยมีมาก่อน…

 

โดยทั่วไปทุกๆ แชนเนลอินพุตจะมีฟรีเจอร์รองรับ Low-cut โดยมีพาราเมตริก EQ ขนาด 4 แบนด์ เช่นเดียวกับเกทและคอมเพรสเซอร์ซึ่งเป็นกลุ่มไดนามิกเอฟเฟ็กต์ที่สามารถพบได้ในรุ่น X32 ซึ่งมีทางเลือกเพียงอย่างเดียว เราสามารถเลือกใช้ฟังก์ชันนี้ในแบบธรรมดาหรือแบบ Expert ก็ได้ ในการเลือกโหมด Expert ผู้ใช้สามารถเข้าไปเจาะส่วนล่างภายใต้การใช้มือของท่านเองที่ต้องการจัดการไดนามิกของเสียง หรือถ้าต้องการใช้งานโหมด Plug-and-Play ซึ่งเป็นโหมด Simple ที่ช่วยให้ท่านเลือกหนึ่งอย่างจากทั้งหมดที่มี 4 พรีเซตที่แสดงเป็นรายการให้เห็น หรือโหลดแชนเนลเป็นลักษณะเท็มเพลทก็ได้ บวกกับการประมวลผลเชิงสัญญาณระดับ 40bit แบบ floating-point ซึ่งจากสเกลนี้ในทางหลักการแล้วสามารถจัดการไดนามิกเรนจ์ได้ไม่จำกัดจริงๆ เนื่องจากไม่มีการโอเวอร์โหลดของสัญญาณหรืออีกทั้งยังมีค่า Latency ที่ต่ำอีกด้วย จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม การทดสอบของผู้เขียนตัว XR18 จึงทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม…

 

ถัดไปในส่วนของภาค Main L/R บัส สำหรับ FOH และ 6 Aux buses ก็เตรียมไว้รองรับการทำงานที่ซีเรียสกับการเซตอัพมอนิเตอร์ หรือจะสร้างอะไรบางอย่างเฉพาะเพื่อที่จะมิกซ์ผ่าน USB โดยการบันทึกเสียงในรูปของสเตอริโอก็ได้ โดยทั้งหมดสามารถ inserts สัญญาณเข้ามา ทั้งไดนามิก และพาราเมตริก EQ ขนาด 6 แบนด์ หรือจะเป็นกราฟิก EQ ขนาด 31 แบนด์ และถ้าทั้งหมดนี้อยู่ในออปชันของ EQ ก็จงยิ้มได้อย่างมั่นใจว่า ท่านจะชอบมันแน่ๆ และอยากบอกว่า 100 แบนด์ RTA ก็สามารถดึงมาใช้งานได้เช่นเดียวกัน…

 

“ ค่า Buffer Size อยู่ในระดับ 256-512 Samples

ปรากกฎว่าทุกอย่างก็วิ่งได้สบายไม่มีปัญหา จนกระทั่งลองจัดหนักคืออัพไปจบที่ 48 แทร็ก ”

MIDI In/Out for Live Performance Controllers 

50

        XR18 มีพอร์ต MIDI ไว้รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ต่างๆ อาทิ X-TOUCH และ B-CONTROL ซึ่งการคอนโทรลสามารถจัดการในทุกๆ แชนเนลของ XR18 ได้ ทั้งในส่วนของ Level, การ mute สัญญาณ, รวมถึงพารามิเตอร์อื่นๆ ที่จำเป็นในขณะเล่นสด พร้อมกับรองรับการอัพเดตเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคต เพื่อให้สามารถรันผ่านโพรโตคอลของอุปกรณ์ที่มี mapping ของโพรโตคอล Mackie Control ซึ่งช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นและกว้างขึ้น จึงเสมือนเป็นรีโมทควบคุมอีกช่องทางหนึ่งผ่านอุปกรณ์ MIDI ทั้งหลาย


รองรับแอปฯเฉพาะทุกแพลตฟอร์ม (Dedicated Apps and Software All Platforms Covered)

54

ในยุคนี้คงปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นยุคแอปฯต่างๆ กำลังมาแรง มีอุปกรณ์มากมายที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ด้านเสียง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต iPad, iPhone ระบบแอนดรอยด์ รวมไปถึงระบบปฎิบัติการลินุกซ์อีกด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมาตัวแอปฯของ XR18 รองรับอุปกรณ์ดังกล่าวครบถ้วนหมด เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดจากเว็บไปลงที่ OS ของอุปกรณ์ใดๆ ผู้ใช้สามารถที่จะใช้งานผ่านอุปกรณ์นั้นๆ ได้ทันที ที่เหลือก็เป็นฝีมือล้วนๆ


X AIR Edit

ถ้าผู้ใช้ต้องการแอปฯ สำหรับรันบนคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นรีโมทควบคุม XR18 ทาง Behringer มีบริการแอปฯที่ชื่อว่า X AIR Edit ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี และยังสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์รุ่นอื่นที่อยู่ในซีรี่ส์ X AIR อีกด้วย วิธีการใช้งานก็ไม่มีอะไรซับซ้อน เริ่มจากดาวน์โหลด X AIR Edit มาติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นพีซี แมคฯ หรือลินุกซ์ก็ตาม จากนั้นผู้ใช้เพียงมีสาย LAN ก็เชื่อมต่อกับตัวมิกเซอร์ XR18 ได้เลย โดยใช้สายเคเบิลมาตรฐาน CAT5 โดยรองรับความยาวของสายได้ถึง 100 เมตร หรือจะใช้อีกหนึ่งทางเลือกคือเชื่อมต่อผ่านระบบ WiFi ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้เราท์เตอร์เพื่อกระจายสัญญาณเน็ตเวิร์กให้ยุ่งยาก เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์กับคอมพิวเตอร์แล้ว หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็เหมือนเป็นจอโทรศัพท์ที่ใช้ควบคุมตัวเครื่องกลายๆ โดยควบคุมได้ทุกฟังก์ชัน

ขอย้ำทุกฟังก์ชัน ยกเว้นแค่การเชื่อมต่อสัญญาณต่างๆ หรือเปิด/ปิดสวิตช์อุปกรณ์เท่านั้น ที่ยังจำเป็นต้องใช้มือเราจัดการ

55

        ถ้าถามว่า X AIR EDIT ทำอะไรได้บ้าง ผู้ใช้สามารถปรับสเกลของจอให้เล็กหรือใหญ่ตามขนาดหน้าจอของคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ถ้าหน้าจอ 23 นิ้วก็ปรับให้ใหญ่ตาม Size ของจอคอมพิวเตอร์ได้เลย ซึ่งพารามิเตอร์ต่างๆ ของ XR18 ก็จะไปปรากฎอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ตัวแร็ค XR18 ก็จะทำงานเป็นเหมือนช่อง I/O ธรรมดาราวกับว่าเป็นสเตจบ็อกซ์แค่นั้น ดังนั้นหัวใจหลักของการใช้งานจึงอยู่ที่แอปตัวนี้นั่นเอง ถ้าผู้ใช้เล่นแอปฯตัวนี้เป็นทุกอย่างก็จบข่าวเลย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมเสียงของแต่ละแชนเนล การจัดการเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ตลอดจนการแก้ไขเราท์ติ้งของสัญญาณอินพุต/เอาต์พุต สามารถจัดการได้เลย ตลอดจนถ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์รองรับฟังก์ชันทัชสกรีน อย่างเช่นพวกแท็บเล็ตค่ายไมโคร ซอฟต์ ผู้ใช้สามารถจิ้มได้เหมือนมือถือระบบแอนดรอยด์ และ iOS ยังไงยังงั้นเลย คำสั่งในจอภาพจะมีผลต่อ XR18 ในเชิงกายภาพทุกประการ ดังนั้นมิกเซอร์หนึ่งตัว ใช้คอมพิวเตอร์เป็นรีโมทคุมทุกอย่าง จะมองว่าเป็นการจำลองมิกซ์เซอร์กลายๆ ก็ได้ ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้ทั้งงานไลฟ์ซาวด์และงานในสตูดิโอได้หมด ยังไงก็ลองเข้าไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ X AIR EDIT ได้ที่เว็บไซต์ www.behringer.com มาลองดูครับ


56

X AIR MIX บน iPad

อีกหนึ่งทางเลือกของการมิกซ์บน FOH ซึ่งไม่ว่าเอ็นจิเนียร์จะอยู่ที่ใดก็สามารถทำงานได้ โดยควบคุม XR18 ผ่าน iPad นั่นเอง ซึ่งแอปฯตัวนี้เป็นตัวใหม่ชื่อ X AIR MIX ใช้รันบน iPad โดยเฉพาะ วิธีการง่ายๆ เพียงแค่เข้าไปดาวน์โหลดมาใช้งาน แอปฯตัวนี้ก็ฟรีเหมือนตัว X AIR Edit ของคอมพิวเตอร์ที่เปิดให้ใช้อีกแพล็ตฟอร์มหนึ่ง โดยการใช้งานอาจจะมีทางเลือกน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ เนื่องจากต้องเชื่อมต่อผ่านระบบไวเลสเท่านั้น

แต่ XR18 ได้ออกแบบแอคเซสพ้อยส์มารองรับไว้แล้ว ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อผ่านเน็ตเวิร์กของ XR18 ได้เลย หลังจากเรียก X AIR MIXแอปฯขึ้นมาแล้ว โดยผ่านไอคอนของแอปฯ ทุกอย่างก็จะแสดงผลบนจอ iPad เท่ากับว่าตอนนี้ XR18 อยู่บนฝ่ามือของผู้ใช้ อยากจะจัดการอะไร ก็จิ้มสไลด์ได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเซฟซีนที่ใช้งานบ่อยๆ หรือซีนเฉพาะที่ต้องการนำมาใช้ภายหลัง รวมถึงการโหลดพรีเซตซีนต่างๆ จากตัว iPad ของผู้ใช้เอง ซึ่งสามารถจัดการได้ตามต้องการ และทั้งหมดยังรองรับวิธีการลากแล้ววาง เหมือนวิธีการใช้เมาส์ของคอมพิวเตอร์อีกด้วย ท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอปฯ X AIR MIX สำหรับ iPad ตัวนี้ได้ที่ Apple App Store ได้ทุกเวลา


X AIR MIX บน Android

57

การออกแบบแอปฯสำหรับระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ ดูเหมือนจะมีอะไรกว้างมาก ซึ่งอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่รันแอนดรอยด์ตั้งแต่ 2.2 หรือสูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นพวกแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน สามารถโหลดแอปฯ X AIR MIX มาติดตั้งเพื่อใช้งานได้ โดยสามารถใช้งาน 1 ใน 2 โหมด สำหรับโหมดแรกใช้เพื่อเข้าทุกระบบมิกซ์ทุกอย่าง หรือจะเลือกเฉพาะคุมบัสเพื่อที่จะใช้จัดการมอนิเตอร์ส่วนตัวก็ทำได้ วิธีการใช้งานแอปฯนั้นก็ง่ายมาก โดยนักดนตรีแต่ละคนสามารถใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ควบคุมตัว XR18 ได้ ตราบเท่าที่ยังอยู่ในรัศมีการจ่ายของสัญญาณไวร์เลส ผ่านสัญญาณ WiFi โดยผู้ใช้สามารถควบคุมอินเอียร์มอนิเตอร์ตนเองได้ หรือจะเป็นมอนิเตอร์มิกซ์ที่วางบนเวที โดยที่ไม่ต้องมีเอ็นจิเนียร์หรือผู้ช่วยมาคอยปรับแต่งระดับสัญญาณต่างๆ ที่เราต้องการ ตัว X AIR MIX ของแอนดรอยด์ ถือว่าเป็นเวอร์ชันที่กว้างที่สุดแล้ว เพราะอุปกรณ์ที่ผลิตออกมาในท้องตลาดปัจจุบันมีหลายพ่อพันธุ์แม่จริงๆ

ดังนั้นการจัดการมอนิเตอร์ส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่นักดนตรียุคใหม่ปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ต้องไปง้อเอ็นจิเนียร์อีกแล้ว สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในสตูดิโอและไลฟ์ซาวด์ ยังไม่จบแค่นั้นนะ ในโหมดแบบฟูลแอคเซสก็สามารถมิกซ์ได้ทุกอย่างเหมือนเอ็นจิเนียร์ FOH เช่นกัน ซึ่งสามารถเข้าถึงทุกๆ ส่วนของ XR18 ได้มีการเข้าไปจัดการ RTA ของแต่ละแชนเนล พวกเอฟเฟ็กต์ การเก็บ/โหลดซีนต่างๆ หรือพรีเซตที่ต้องการใช้งานและอื่นๆ อีกมากมาย สามารถใช้กับแท็บเล็ตจอ 12″ นิ้วหรือสมาร์ทโฟนจอ 5″ ได้ สนใจก็ลองไปดาวน์โหลดมาเล่นที่ X AIR CUE ที่เว็บ androidapps.com


ทดลองใช้งาน

ผู้เขียน มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยียน ร้านเคซีมิวสิค เป็นร้านแห่งหนึ่งในเครือของบูเซ่ฯ ซึ่งอยู่แถวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวังบูรพา ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง หากใครไม่เคยไป ก็บอกแท็กซี่หรือวินมอไซค์ว่าไปแถวเรือนจำเก่า ย่านวังบูรพา จริงๆ เคซีมิวสิคห่างจากเวิ้งฯ ไม่น่าเกิน 300 เมตร ถ้านั่งรถจากหัวลำโพง ไม่พลาดแน่นอน ที่นี่เป็นผู้นำเข้าสินค้าBehringer อย่างเป็นทางการ ตลอดทั้งวันผู้เขียนได้ทดลองใช้งาน XR18 อยู่หลายชั่วโมง เพลินซะจน เฮียจรูญ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านถามว่า ไม่พักกินข้าวบ้างเหรอ” ผู้เขียนไม่หิวทำไงได้ สรุปข้าวปลาไม่สนมันละ ขอทดสอบมิกเซอร์ตระกูล X AIR ให้เสร็จก่อนละกัน เริ่มจาก เฮียจรัญ ซึ่งเป็นพี่น้องกับเฮียจรูญ ยกของขึ้นไปชั้นลอย แล้วบอกว่า วันนี้มอบห้องนี้ให้ทำงานเลยทั้งวัน” บรรยากาศโดยรวมถือว่าเป็นกันเองมากๆ ร้านนี้มีชั้นลอยอยู่ด้านบน มีเครื่องมือสำหรับทดสอบอุปกรณ์ที่แวดล้อมไปด้วยลำโพงมอนิเตอร์รุ่นต่างๆ ไปจนถึงเมตทริกมิกเซอร์ ขอเล่าตั้งแต่ตอนเปิดกล่องเลยละกัน สำหรับรุ่น XR18 มีบางอย่างน่าสนใจ แต่ขออุบไว้ก่อน

behringer_xr18_3

เมื่อเปิดกล่องปุ๊บด่านแรกที่ผู้เขียนสำรวจพบว่า มีตัวเครื่อง XR18 ห่อหุ้มด้วยพลาสติกใส พร้อมยางโฟมกันกระแทกครอบไว้ทั้งสองด้าน และยังมีแผ่นเหล็กสองแผ่น มีไว้สำหรับติดตั้งในลักษณะเป็นแร็ค เนื่องจากตัว XR18 ไม่ได้ออกแบบรูปร่างตามมาตรฐานแร็คตั้งแต่ต้น จึงต้องใช้เหล็กแผ่นมาประกอบเสริมจึงจะใส่ลงในแร็คได้ และมีสายไฟ AC ให้มา 1 เส้น แล้วก็แผ่นพับแนะนำการใช้งานและติดตั้งอย่างย่อๆ…

ผู้เขียนนำเจ้าตัว XR18 ออกจากกล่อง แล้วเชื่อมต่อสายไฟเข้าไป ขณะเดียวกันก็นำสายลำโพงมอนิเตอร์ต่อเข้าโดยตรง ไม่ผ่านเมตริกมิกซ์เซอร์ใดๆ เพราะบนชั้นลอยแห่งนี้มีมอนิเตอร์หลายคู่จึงมีการต่อเมตริกเอาไว้แต่แรก น่าจะมีทุกรุ่นของ Behringer ผู้เขียนเลือกรุ่นใหม่ล่าสุด และเป็นรุ่นท็อปสุดนั่นคือ K8 เนื่องจากภายในกล่องไม่มีสาย USB จึงลงไปขอยืมจากทางร้าน แล้วก็นำมาเชื่อมต่อ น้องผู้ชายที่ร้านก็มาช่วยดูให้ โดย เฉพาะช่วงแรกๆ ผู้เขียนต่อสาย USB จาก XR18 มาเข้าที่คอมพิวเตอร์ แล้วเปิดสวิตช์ให้มันทำงาน

ในคืนก่อนหน้านั้นผู้เขียนทำการบ้านล่วงหน้าไว้ จึงรู้ว่า แอปฯ ที่จะใช้ควบคุมตระกูล X AIR ต้องไปดาวน์โหลดมาติดตั้งก่อน พร้อมกับไดรเวอร์อุปกรณ์ พอถึงร้านก็ง่ายเลย แค่ติดตั้งตัวแอปฯและไดรเวอร์เข้าไปเป็นอันเสร็จพิธี หลายปีที่ผ่านมาอุปกรณ์หลายค่ายจะไม่นิยมแถมแผ่นซีดีที่มีแอปฯ หรือไดรเวอร์หรือแม้กระทั่งคู่มือมาให้ เข้าใจว่าคงต้องการลดต้นทุน


คราวนี้โจทย์ข้อแรก

เราจะต้องทำให้คอมพิวเตอร์มองเห็น XR18 เสียก่อน ซึ่งนั่นก็คือการติดตั้งไดรเวอร์ USB และใช้ซอฟต์แวร์ Edit เพื่อทำหน้าที่เป็นรีโมท ซึ่งผู้เขียนได้ทำการติดตั้งทั้งซอฟต์แวร์และไดรเวอร์ลงไป ในช่วงแรกคอมพิวเตอร์ยังมองไม่เห็น XR18 เด็กที่ร้านมาช่วยดู พร้อมกำหนดให้ตัว XR18 เชื่อมต่อกับโน้ตบุ๊คเป็น WiFi โดยกำหนด XR18 เป็น Access Point จากนั้นเข้ามาเลือกสัญญาณ WiFi ที่ตัวโน้ตบุ๊ค เราจะเห็นแอ็คเซสพ้อยส์เป็น XR-18 ให้เลือกจุดนี้

หลังจากนั้นเรียกแอปฯ X AIR Edit ขึ้นมา แล้วคลิกที่ไอคอน Setup ซึ่งเป็นปุ่มแรกด้านบนทางฝั่งขวามือ ให้สังเกตว่าจะเป็นไคอนรูปฟันเฟือง คลิกลงไปจะพบหน้าต่าง Setup เด้งขึ้นมา ให้คลิกที่แท็บแรกนั่นคือ X AIR Connection เลือกรูปแบบการซิงโครไนซ์ ของหัวข้อ Sync Direction เป็นออปชัน Mixer -> PC ในส่วนของการจ่ายไอพีแอดเดรสให้คอมพิวเตอร์นั้น จะใช้แบบสุ่มแจกอัตโนมัติหรือเรียกว่า DHCP แต่ว่าตัว XR18 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสแบบ Manual IP ก็ได้ ซึ่งเราก็ตั้งเลขเอง แต่ในวันนั้นผู้เขียนใช้วิธีสุ่มแจกอัตโนมัติ ซึ่งระบบก็สามารถทำงานได้ปกติ คราวนี้เราจะเห็นหมายเลขไอพีของตัว XR18 ปรากฎอยู่ในจอ Select X AIR Mixer from list เนื่องจากมีรายการเดียว ระบบจะเลือกให้โดยปริยายนั่นคือ 192.168.1.1 ซึ่งทำตัวเป็นแม่ข่ายในการแจกจ่ายไอพีแอดเดรสให้กับเครื่องลูกข่าย…

ขั้นตอนต่อมาคลิกปุ่ม Connect ในที่นี้ IP Address ของคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คผู้เขียนคือ 192.168.1.101 ซึ่งไอพีดังกล่าวระบบสุ่มแจกให้นั่นเอง หลังจากกดปุ่ม Connect ระบบจะทำการเชื่อมต่อโดยการถ่ายโอนชุดคำสั่งระหว่างคอมฯและ XR18 เข้าหากัน เพื่อที่จะปรับให้ตัว X AIR EDIT มีสภาพแวดล้อมที่พร้อมใช้งาน ในระหว่างนี้ผู้ใช้จะเห็นหน้าต่าง Transferring parameters… แสดงค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อครบ 100 เปอร์เซ็นต์ถ้าไม่มีปัญหาอะไร เป็นอันว่าตอนนี้คอมฯก็จะทำหน้าที่เป็นรีโมทระยะไกล ควบคุมการทำงานของ XR18 ได้โดยสมบูรณ์

หลังจากนั้นผู้เขียนเรียกซอฟต์แวร์ Cubase Pro 8 ขึ้นมาเพื่อที่จะทดสอบว่ามันเพลย์แบ็กและบันทึกสัญญาณออดิโอได้หรือไม่ เมื่อเรียก Cubase Pro ขึ้นมา ก็พบหน้าต่าง New Audio Drivers Found ซึ่งบอกเรา ขณะนี้ระบบได้ตรวจพบออดิโออินเทอร์เฟซตัวใหม่ พร้อมกับบอกว่า กรุณาเลือกไดรเวอร์ตามที่ปรากฎในจอ ในที่นี้ผู้เขียนเลือกเป็น X(R)18 ASIO Driver แล้วตามด้วยปุ่ม OK

ถัดจากนั้นจะพบหน้าต่างที่สองโผล่ขึ้นมาอีก เตือนว่า ASIO Buffer Size มีขนาดใหญ่มาก ให้เข้าไปกำหนด ASIO-Guard Level ตามเมนูคำสั่ง Devices > Device Setup > VST Audio System แล้วปรับลดขนาด Buffer Size ให้เล็กลง เมื่อคลิกปุ่ม OK แล้วก็เข้าสู่เมนูดังกล่าว ซึ่งค่าเริ่มต้นของฮาร์ดแวร์ถูกตั้งไว้ที่ 2048 samples ซึ่งเป็นค่าที่สูงมากๆ ส่วน USB Streaming Mode ถูกกำหนดมาเป็น Safe ทั้งสองค่าเป็นค่าที่โรงงานตั้งมา ผู้เขียนได้กำหนดค่า USB Streaming Mode ใหม่เป็นโหมด Low Latency ส่วน Asio Buffer Size กำหนดเป็น 128 samples นอกจากนั้นในหน้าต่าง Device Setup ผู้ใช้สามารถเข้าไปกำหนด VST Audio System ค่าอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะ ASIO Driver ซึ่งในที่นี่ถูกกำหนดเป็น X(R)18 ASIO Driver อยู่แล้ว จากการตั้งค่า Buffer Size ไว้สูงนั้น จะส่งผลต่อค่า I/O ของ Latency สูงถึง 50.794ms – 63.855ms เลยทีเดียว

09

เมื่อเราตั้งค่า Buffer Size ต่ำลงก็จะทำให้ค่า Latency ต่ำลง โดยค่าต่ำสุดที่ XR18 ทำได้คือฝั่ง Input Latency เท่ากับ 3.628ms และ Output Latency เท่ากับ 3.628ms เรียกว่าส่วนต่างแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียว ค่าต่ำๆเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในขณะที่บันทึกเสียงแต่จะไม่เป็นผลดีเมื่อเราเพลย์แบ็กแทร็กออดิโอปริมาณมากๆ ซึ่งจะเกิดอาการเหมือนระบบสะดุดหรือน็อคค้างไปเลย วิธีแก้ง่ายมาก เวลาเพลย์แบ็กแทร็ก ออดิโอจำนวนมาก เราก็ปรับค่า Buffer Size ให้สูงขึ้น ก็ราวๆ 128-256 samples ก็ถือว่าให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ตรงนี้เป็นผลที่ได้จากการทดสอบในวันนั้นนะครับ

จากนั้นผู้เขียนได้โหลดโปรเจคดนตรีเข้ามาใน Cubase Pro แล้วสั่งให้เพลย์แบ็กปรากฎว่าเงียบสนิท ลองเช็คหลายอย่าง พบว่าคอมพิวเตอร์ก็มองเห็น XR18 แล้วนะ แต่ดันเงียบ การเลือกพอร์ต Output ก็ปกติดีทุกอย่าง แต่ทำไมเสียงไม่ดัง จึงเข้าไปเช็คที่ซอฟต์แวร์ในหลายส่วน ปรากฎว่าไม่เป็นผล น้องที่ร้านเคซีฯ จึงมาดูให้ เลยลองเข้าไปที่แอปฯ X AIR Edit โดยไปที่ส่วนของ In/Out ของแอปฯ แล้วเลือก Main Out ทีนี้ลองคลิก Main USB เป็น USB 3/4 ปรากฎว่าเสียงเพลงดังลั่นจนตกใจ งานนี้รีบ Mute แทบไม่ทัน ในส่วนของ In/Out ของแอปฯ ซึ่งอยู่ใน Main Out จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะให้ Main L/R นั้นมาจากช่องใด ซึ่งในแอปฯจะมีช่องตารางให้เราติ๊กรูปวงกลมสีฟ้าๆ เพื่อบอกว่าเราเลือกเราท์เตอร์นั้นๆ นะ โดยเริ่มจาก USB 1/2, 3/4, 5/6, 7/8, 9/10 ไปจนถึง USB 17/18

10

ทีนี้การจะเลือกพอร์ต USB เพื่อรีเทิร์นสัญญาณกลับมาที่ I/O ของ XR18 นั้นมันจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ตั้งค่า Main Out L/R ของซอฟต์ แวร์ DAW ไว้ที่พอร์ตหรือบัสไหน ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนใช้ Cubase Pro ดังนั้น ผู้เขียนกำหนดไว้เป็น USB 3/4 ถามว่าแล้ว Output บน Cubase Pro เซตที่ไหนล่ะ ให้เข้าไปที่ Devices > VST Connections แล้วเลือกแท็บ Outputs จากนั้นทำการ Add Bus เข้ามาให้ครบจำนวนของ Device Port ซึ่งเราสามารถทำได้หลากหลายมาก ตัวอย่างเช่น เลือก Main Stereo เป็น 1/2 หรือ 3/4 ก็ได้ ในกรณีเลือกเป็นช่อง Main 1/2 ท่านก็ต้องมากำหนดเราท์เตอร์สัญญาณที่แท็บ Main Out ในหน้า In/Out ของแอปฯ X AIR Edit ให้ตรงกันด้วยเสียงของ Cubase หรือซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ มันจึงจะถูกปล่อยออกมาจากซอฟต์แวร์ได้ ขณะเดียวกันเราสามารถที่จะนำเอาสัญญาณอะนาลอกจากภายนอกโยนเข้าไปที่ซอฟต์แวร์ Cubase ได้เช่นเดียวกัน โดยไม่มีผลใดๆ ต่อซอฟต์แวร์หรือตัว XR18 เลย

 

เมื่อเสียงมาแล้วเอาไงต่อ ผู้เขียนจึงไล่ Add Bus ทั้ง Input/Output บน Cubase Pro ให้ตรงตามค่า I/O ของตัวXR18 ซึ่งถ้าเรากำหนดทุกพอร์ตเป็นโมโนมันจะได้ทั้งหมด 18 I/O แต่ถ้าเราต้องการให้ 1 พอร์ตเป็นสเตอริโอ มันก็จะออกมาในรูป 1 สเตอริโอบวกกับอีก 16 โมโน หรือถ้าจะทำให้เป็นสเตอริโอทั้งหมดก็จะได้เป็น 9 สเตอริโอ คือไม่ว่าจะจัดบัสในรูปแบบใดก็ตามสุดท้ายแล้วจะได้สูงสุดไม่เกิน 18 โมโนนั่น เอง นี่เป็นหลักการเบื้องต้น ของวิธีคิดบัส I/O บน Cubase Pro ซึ่งสุดท้ายแล้วตัวที่ลิมิตจริงๆ ก็คือตัวฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เลือกรูปแบบเราท์ติ้งสัญญาณตามที่เราต้องการ ภายใต้ข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ที่ถูกออกแบบมาเท่านั้น เมื่อไปเช็คค่า In/Out และในกรณีที่เป็นโมโน Cubase จะมองเห็นพอร์ต I/O ทั้งหมดของ XR18 คือ 18in/18out นั่นเอง

 

หลังจากนั้นจึงลองเพลย์แบ็กหลายๆ โปรเจคดู รวมทั้งโปรเจคปราบเซียนที่มีทั้งปลั๊กอิน VSTi และปลั๊กอิน VST ราวๆ 24 แทร็ก ทุกอย่างก็ปกติดี ทำงานได้ดีเกินที่คาดไว้ เพราะเนื่องจากโปรเจคนี้ ปกติถ้านำไปรันกับออดิโออินเทอร์เฟซรุ่นเล็กๆ ส่วนใหญ่มักจะไปไม่รอด มันจะเกิดภาวะป๊อบคอร์นเสมอ หรือไม่ก็น็อคดร็อปเอาท์ไปดื้อๆ ซะงั้น เมื่อพิสูจน์ได้ว่า XR18 มีสมรรถนะเกินคาดไว้มาก จึงมีความคิดว่า อยากลองว่ามันสามารถรันแทร็กออดิโอพร้อมกันได้กี่แทร็ก คือในเรื่องการบันทึกเสียงเนี่ยจำนวน 18 แทร็กไม่มีปัญหา เพราะเวลาทำงานจริงๆ ไม่น่าจะเกินกำลัง แต่ส่วนใหญ่การทำงานเพลงหรือการมิกซ์ดนตรีนั้น มักจะต้องมิกซ์ด้วยแทร็กออดิโอจำนวนมาก ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเพลงด้วยนะ งานบางประเภทมิกซ์แค่ 7-8 แทร็กจบได้เลย แต่ต้องยอมรับว่าถ้าแค่ 7-8 แทร็กใช้ออดิโออินเทอร์เฟซราคาไม่ถึงหมื่นก็ได้ครับ โจทย์ของเราคือถ้าจะมิกซ์กันระดับ 20 แทร็กขึ้นไปจะทำได้หรือไม่ ผู้เขียนก็ทยอยอัดแทร็กออดิโอไปเรื่อยๆ โดยเริ่มที่จำนวนตามสเป็กของอุปกรณ์ก่อนเลยคือ 18 แทร็ก ผลลัพธ์ที่ได้คือทุกอย่างผ่านไปอย่างราบรื่น ในขณะที่มันเพลย์แบ็กการกินพลังคอมพิวเตอร์ก็ไม่เยอะอีกด้วยถือว่าในเบื้องต้นสอบผ่านในระดับหนึ่ง

11

จากนั้นผู้เขียนค่อยๆ เพิ่มจำนวนแทร็กออดิโอมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 18 กระโดดไปเป็น 20 แทร็ก ไปเป็น 22 แทร็ก ไปเป็น 24 แทร็ก แต่ทุกๆครั้งที่เพิ่มจำนวนแทร็กมากขึ้นเรื่อยๆ ผลลัพธ์ออกมาก็ยังเหมือนเดิมคือวิ่งได้สบาย… อะไรกันเนี่ย… ยังไงก็ขอลองเพิ่มอีกสักหน่อย คราวนี้ทำไปทำมา จู่ๆ รันที่ 32 แทร็กได้ฉลุย… เฮ้ย…! เหลือเชื่อ… จากนั้นเอาไงต่อ… ผู้เขียนจึงลองใส่เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เข้าไป ปรากฎว่าก็มีแอบสะดุดบ้างจึงปรับค่า Buffer Size ให้สวิงอยู่ในระดับ 256-512 Samples ปรากฎว่าทุกอย่างก็วิ่งได้สบายไม่มีปัญหา

 

จนกระทั่งลองจัดหนักเลย คืออัพไปจบที่ 48 แทร็ก ก็ยังวิ่งได้อย่างสบายๆ ดังนั้น จึงมั่นใจว่างานโปรดักชันที่สามารถจบได้ต่ำกว่าที่ 48 แทร็ก สามารถใช้ XR18 ตัวนี้ได้เลย หลายคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า… โอ้โห… มันวิ่งได้ 48 แทร็กขนาดนั้นเลย… แต่ทำไมสเป็กจึงเขียนแค่ 18 โมโนแทร็ก/แชนเนล… คือในแง่การเรคอร์ดกับการเพลย์แบ็กมันใช้วิธีคิดคนละไอเดีย ในการบันทึกแบบเรียลไทม์ยังไงก็ต้องยึดตามพอร์ต I/O ทางกายภาพที่มันมีอยู่จริงของตัวอุปกรณ์ ซึ่งนั่นหมายถึงว่า มันสามารถอัดได้พร้อมกันในคราวเดียว 18 แทร็กเท่านั้น ท่านจะต่อยังไงก็ได้ เป็นแจ็ค XLR หรือ TS/TRS แต่รวมอัดได้พร้อมกันทั้งหมดเพียง 18 แทร็ก.

 

หากย้อนเวลากลับไปในยุคเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ในการมิกซ์เสียงบนซอฟต์แวร์เป็นเรื่องที่ลำบากมาก เพราะซอฟต์แวร์จะพยายามยึดจำนวนพอร์ต I/O ของฮาร์ดแวร์จริงเป็นหลัก กล่าวคือถ้าฮาร์ดแวร์มีจำนวน 2 อินพุต/ 2 เอาต์พุต หรือตีความง่ายๆ 1 สเตอริโอ ถ้าจะมิกซ์เสียงเนี่ย ทำได้แค่ 2 แทร็ก ไม่ต้องตกใจครับ ที่มันสร้างปัญหาคือเฉพาะแทร็กออดิโอเท่านั้น แต่แทร็ก MIDI ยังรับกันได้ที่ 16 แชนเนลต่อหนึ่งพอร์ต แต่แชนเนลออดิโอจะมีแค่ ซ้าย-ขวา ถ้าแชนเนลซ้ายเป็นกีตาร์ แชนเนลขวาเป็นกลอง เวลาแพนหรือเพิ่มความดังต่างๆ มันจะแยกกันเป็นอิสระ แต่เมื่อไหร่แทร็กที่ 3-4-5-6 ใช้พอร์ตซ้ำกับแทร็กที่ 1-2 ผลคือเวลาแพนหรือเพิ่มระดับความดังต่างๆ ในแชนเนลใดๆ ที่มีพอร์ตซ้ำกัน มันก็จะให้ผลลัพธ์เหมือนกันหมด ทั้งๆ ที่ข้อมูลออดิโอเป็นคนละชิ้นคนละอุปกรณ์ ดังนั้นถ้าจะมิกซ์กันที่ 8-16-24-32 แทร็ก เราต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่มันวิ่งสตรีมแทร็กออดิโอได้ตามนั้นจริงๆ… ดังนั้น ในยุคนี้สำหรับออดิโออินเทอร์เฟซใดๆ ก็แล้วแต่ แม้สเปกโรงงานจะระบุไว้แค่ 1 สเตอริโอหรือ 2 in/ 2 out ในเวลามิกซ์กันจริงๆ มันสามารถรันได้มากกว่านั้น เพราะได้อานิสงค์จากเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ DAW ทั้งหลาย

12

อย่าง Cubase Pro 8 ตัวนี้ สามารถรันแทร็กได้เป็นหลายร้อยแทร็ก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับข้อจำกัดความแรงของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เฟซที่ใช้เชื่อมต่อด้วยนะ ถ้าเป็น USB 2.0 อาจจะวิ่งได้สูงสุดที่ 70 กว่าแทร็ก ตามสเป็กที่มีการทำวิจัยกันมา แต่หากออดิโออินเทอร์เฟซรุ่นนั้นไม่แรง คือชิปประมวลผลสัญญาณออดิโอหรือ Codec มีแบนด์วิดธ์ต่ำ ย่อมรองรับการสตรีมข้อมูลได้น้อยเช่นกัน แต่ตัว XR18 จัดว่ารอง รับการสตรีมข้อมูลออดิโอได้สูงพอที่จะทำให้ผู้ใช้มีความคล่องตัวในการทำงานในระดับมืออาชีพได้ เพราะไม่ต้องมานั่งพะวงว่ามันจะวิ่งได้กี่แทร็ก มิกซ์ 24 แทร็กได้หรือเปล่า…

 

สรุปว่าไม่ต้องกังวลกับประเด็นนี้ ส่วนเรื่อง Latency อย่างที่กล่าวไปแล้ว ผลต่างของ input/output Latency มีค่าเป็นศูนย์ และรันได้ต่ำถึง 3ms ซึ่งถ้าหากใช้ที่ระดับ 7ms-10ms ก็ถือว่ายอมรับได้ เพราะหูคนเรายังไม่สามารถแยกได้ และปัญหาพวกป๊อปคอร์นก็ไม่เกิด ตามที่ผู้เขียนทดสอบมา จนกว่าเราจะสตรีมมิ่งแทร็กในคราวเดียวกันมากๆ หรือใส่ปลั๊กอิน VSTi, VST กันแบบไม่เกรงใจ

13

      XR18 ก็ใช่ว่าจะดีเลิศไปหมด เดี๋ยวจะหาว่าผู้เขียนอวยแบบไม่ลืมหูลืมตา เนื่องจากผู้พัฒนาจับภาคควบคุมทั้งหมดไปอยู่ในรูปซอฟต์ แวร์ผ่านแอปฯ บนคอมฯ แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนเนี่ย ปัญหาคือเวลาที่ใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ DAW เรื่องการคุมเกนสัญญาณต่างๆ ของทุกๆ แชนเนลที่ปล่อยสู่ Main L/R ของอุปกรณ์ อาจจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากว่า บนตัวแร็คไม่มีโวลุ่มหรือสไลด์เฟดเดอร์ หรือสวิตช์ให้เรา Mute เสียง หากเปิดโปรเจคขึ้นมา แล้วเพลย์แบ็กในทันทีนั้น ลำโพงมอนิเตอร์อาจจะขาดโดยไม่ยอมอำลาเจ้าของ เพราะเฟดเดอร์ที่คุม Levelความดัง Main Output ของซอฟต์แวร์จะถูกเซตไว้ที่ 0dB หรือยูนิตี้เกน มันจะปล่อยสัญญาณออกมาเต็มๆ เลย

 

วิธีแก้ปัญหาคือ ก่อนจะเพลย์แบ็กโปรเจคใดๆ ต้องไปลดเฟดเดอร์ของ Main Output ของซอฟต์แวร์ให้ต่ำลงก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นภายหลัง หรือไม่อีกทางเลือกหนึ่งควรไปตั้งเกนมอนิเตอร์ให้ต่ำลง แต่จะส่งผลในด้านอื่นเหมือนกันเพราะถ้าตั้งเกนต่ำๆ ที่ตัวมอนิเตอร์จะมีปัญหาเรื่อง Signal to Noise Ratio อีก พูดง่ายๆ คราวนี้จะได้เสียงออกมาไม่เต็มอย่างที่ควรจะเป็นนั่นเอง หรือจะลดลงก่อนแล้วค่อยเพิ่มทีหลังก็ได้ แต่ยังไงการปรับเฟดเดอร์บน Cubase น่าจะเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่า

14

ลองใช้งาน X AIR Edit

จากที่ได้ลองเล่น ลองใช้งาน X AIR Edit พบว่าโดยส่วนตัวก็ชอบเลยล่ะ คืออาจจะเป็นเพราะว่าผู้เขียนเติบโตมากับหน้าจอคอมฯ ก็เลยคุ้นเคยกับพวกที่เป็นสไลด์ต่างๆ ในจอ เวลาไปเล่นฮาร์ดแวร์จริงๆ รู้สึกว่ามันเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ช้ากว่า แต่บางคนที่เติบโตมากับฮาร์ดแวร์จริง ก็อาจจะแย้งว่า ชอบแบบฮาร์ดแวร์มากกว่า เพราะซอฟต์แวร์ฟังก์ชันมันเยอะไปหมด ตาลาย ซึ่งแต่ละคนก็มีเหตุผลคนละแบบ ซึ่งไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่ว่าสุดท้ายแล้วเป้าหมายเราทำให้ลูกค้าของเราแฮปปี้หรือไม่ เรามีความสุขกับงานที่เราทำหรือเปล่า จุดนี้น่าจะสำคัญกว่า…

 

ลองมาดูองค์ประกอบคร่าวๆ ใน X AIR Edit ถ้าเปิดขึ้นมาถ้าไม่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตระกูล X AIR มันก็จะขึ้นสถานะบอกว่า Not Connect เมื่อเชื่อมต่อแล้วมันก็จะโชว์ชื่อแอคเซสพ้อยท์ที่เชื่อมต่อ พร้อมแสดงไอพีแอดเดรสของเครื่องแม่ข่ายอีกด้วย ด้านบนจะพบแท็บต่างๆ ในการเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ซึ่งแท็บแรกเป็น Mixer ซึ่งจะใช้เรียกเมื่อต้องการดูหน้าแชนเนลต่างๆ ซึ่งจะจัดเรียงจากแชนเนล 1 ไปจนถึง 18

 

ทั้งนี้มันจะปรับขนาดตามรุ่นของอุปกรณ์ที่เราเชื่อมต่อ เช่น หากเชื่อมต่อกับรุ่นที่มีขนาดแชนเนลน้อยกว่ามันก็จะโชว์จำนวนแชนเนลตามจำนวนของอุปกรณ์รุ่นนั้นๆ โดยปริยาย และหน้าเพจนี้เป็นค่าเริ่มต้นที่โรงงานตั้งมาให้เรา… ถัดไปเป็นแท็บฟังก์ชัน Channel แท็บนี้ก็จะโชว์รายละเอียดของแชนนเลต่างๆ เช่นกัน แต่โชว์ในอีกลักษณะหนึ่ง…

 

ถัดไปแท็บ Input, Gate, EQ, Comp, Sends, Main, FX และ Meter แต่ละส่วนจะเป็นเพจที่แยกกันแสดงผล เพื่อที่จะให้ผู้ใช้เข้าไปจัดการพวกเอฟเฟ็กต์หรือดูมิเตอร์ของสัญญาณขาเข้าและขาออกทั้งหมดของอุปกรณ์… ถัดไปฝั่งทางซ้ายขวามือ โซนนี้จะเป็นตัวเซตค่าเฉพาะอุปกรณ์ เช่นการ Setup Input/Output กำหนดพวกไอพีแอดเดรส เชื่อมต่อกับลูกข่าย/แม่ข่าย หรือพวก Utility ต่างๆ รวมถึงคำสั่งพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น ปุ่ม Save, Load, Copy, Paste รวมถึงปุ่ม Snapshot และปุ่มเปิด/ปิดการบันทึกแบบเร่งด่วน… ถัดลงมาโซนด้านล่างก็จะมีปุ่มคุม Bus ต่างๆ ซึ่งคุมได้ตามสเป็กของฮาร์ดแวร์รุ่นนั้นๆ เช่นกัน

 

โดยรวมก็ถือว่า XR18 น่าใช้งาน สมกับเป็นรุ่นที่ขายดีที่สุดรุ่นหนึ่งของ X AIR เลยทีเดียว สิ่งที่ยังไม่ได้ลองใช้งานก็คือ ULTRANET และการจัดการมอนิเตอร์ส่วนตัวผ่านแอปฯ บนสมาร์ทโฟนหรือบน iPad ไว้มีเวลา หรือมีหากแฟนคลับเรียกร้องมา อาจจะมีการทดสอบกันอีกรอบก็ได้…

ขอขอบพระคุณบทความดีดี จากคุณ  เดชฤทธิ์ พลเยี่ยม และนิตยสาร The Absolute Sound & Stage

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หจก.บูเซ่ แอนด์ ฮอคส์

โทร. 0-2222-6403 , 0-2223-5608 , 0-2224-4996

และที่ บริษัท เคซี มิวสิค เซ็นเตอร์ จำกัด โทร. 0-2621-0242-3

และที่ WWW.BOOSEYTHAI.COM, หรือที่ facebook.com/booseythai


สนใจสั่งซื้อ เครื่องเสียงกลางแจ้ง, ดิจิตอลมิกเซอร์
ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ติดต่อ บริษัทมิวสิคสเปซ จำกัด – www.soundspacethai.com

 

 

Related Articles

0 Comment

โทร. : 022031821 , 026414744 ext 13
สายด่วน : 099-8759336, 081-2399040 (Eng), 089-6915832

Line : @soundspacethai

หรือส่งข้อความด้านล่างเพื่อติดต่อเราทาง Facebook